“ในตอนนั้น สิ่งที่ผมต้องการคือการมีชีวิตอยู่ต่อ”
นี่คือเสียงจากเควิน ไฮนส์ (Kevin Hines) หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากการกระโดดสะพานโกลเดนเดต (Golden Gate) ที่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เพื่อฆ่าตัวตัวตาย
ไฮนส์เล่าว่าเมื่อปี 2000 เขากระโดดลงมาจากสะพาน ในจังหวะที่ปล่อยมือจากราวและกระโดดลงมา ความเศร้าในชีวิตของเขาหายไป แทนที่ด้วยสัญชาตญาณต้องการมีชีวิตอยู่ต่อ ซึ่งก็นับว่าเป็นโชคดีที่เขาได้รับการช่วยเหลือ พร้อมกับเข้ารับการรักษาและพักฟื้นจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังจากกระโดดลงมา
ไม่นานหลังจากนั้น ไฮนส์ก็ได้เดินทางและพบปะกับผู้คนนับพันที่มีต้องการจะฆ่าตัวตาย โดยทั้งหมดเล่าให้เขาฟังว่า พวกเขาเสียใจ และคิดว่าพวกเขาไม่ควรทำตามความคิด [ที่อยากจะฆ่าตัวตาย] นั้นเลย
เช่นเดียวกับ เควิน เบอร์เธีย (Kevin Berthia) ที่กระโดดจากสะพานโกลเดนเกต พร้อมกับระบุว่า ในตอนนั้น เขาเพียงแค่ต้องการบางอย่างที่มาห้ามเขาไว้
สะพานโกลเดนเกตสร้างเสร็จเมื่อปี 1937 โดยหลังจากที่เปิดให้บริการ ก็มีรายงานยืนยันว่า มีมากกว่า 1,800 เคสที่กระโดดสะพาน และในแต่ละปีก็ยังมีคนที่กระโดดสะพานกว่า30 เคสเช่นกัน
นั่นจึงทำให้เมื่อปี 2018 มีการสร้างตาข่ายเพื่อสร้างโอกาสที่ 2 ให้พวกเขามีชีวิตอยู่ต่อไป และตาข่ายดังกล่าวก็ยังอาจช่วยลดจำนวนการบาดเจ็บหลังจากกระโดดลงจากสะพาน รวมไปถึงตาข่ายนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและการเอาใจใส่ผู้คนที่กำลังเผชิญกับชีวิตที่ย่ำแย่อีกเช่นกัน
ทั้งนี้ ตาข่ายดังกล่าวสร้างเสร็จไปแล้วประมาณ 80% และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้
รวมไปถึง ยังมีการศึกษาในปี 1978 ที่พบว่า ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่โกลเดนเกตแต่ไม่สำเร็จนั้น มีจำนวนมากกว่า 90% ที่ยังมีชีวิตอยู่
อย่างไรก็ดี ตาข่ายป้องกันอาจจะยังไม่เพียงพอ โดยองค์กรป้องกันการฆ่าตัวตาย อย่างมูลนิธิ ‘Bridge Rail’ ได้ผลักดันให้สร้างราวกั้น ขณะที่ความเห็นของสาธารณชนมองว่า การสร้างราวกั้น จะบดบังทิวทัศน์รอบๆ บทสรุปของการป้องกันเหตุการสูญเสียจึงเป็นการสร้างตาข่ายแทน
ในส่วนของความเห็นที่ระบุว่าเพียงแค่ตาข่ายป้องกัน ยังไม่ใช่การป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และการสร้างราวกั้นยังคงจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อลดการกระโดดจากสะพานอยู่ ก็มองว่าสำหรับบางคนที่กระโดดลงไปแล้วเจอตาข่าย เขาก็อาจจะยังกระโดดจากตาข่ายลงไป เพื่อจบชีวิตตัวเองก็ได้
เบอร์เธียหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้มีการสร้างราวกั้นระบุว่า เขาเข้าใจคนที่ต้องการจะคงทิวทัศน์และประวัติศาสตร์ของโกลเดนเกตไว้ แต่ก็ยังคิดว่าการสร้างราวกั้นเป็นเรื่องจำเป็น โดยคิดว่าสังคมยังคงต้องรับฟังเสียงของผู้ที่สูญเสียคนที่เขารักจากสะพานโกลเดนเกตนี้ไป
อ้างอิงจาก
#GoldenGate #TheMATTER