ถ้าคุณเป็นนักเลี้ยงนกและเฝ้าสังเกตพฤติกรรมมาสักระยะ คุณจะต้องทึ่งกับความสามารถเหนือขนาดตัวของเหล่าปักษีแน่นอน
นกหลายชนิดเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือทุ่นแรง (กามีกลุยทธ์แกะเปลือกลูกสนด้วยการให้รถทับ) บางชนิดมีทักษะการจดจำเป็นเลิศ เป็นนักร้องที่มีหลายซุ่มเสียง มีรูปแบบสังคมขนาดมหึมา หรืออาจฉลาดพอที่จะเปิดกรงบินออกมาซะเอง
ความมหัศจรรย์ของสมองนกนี้ถูกศึกษามาสักระยะและพึ่งตีพิมพ์การค้นพบในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อยืนยันว่า…
“สมองนกเต็มไปด้วยเซลล์ประสาทที่อยู่กันอย่างหนาแน่นกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ” และนั้นอาจเป็นเหตุผลให้นกมีรูปแบบทางสังคมและการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนไม่แพ้ กลุ่มลิง (Primate) เลยด้วยซ้ำ
เพราะก่อนหน้านี้พวกเราเชื่อกันว่า “สมองยิ่งใหญ่ ยิ่งฉลาด” แต่กลายเป็นว่าแนวคิดนั้นออกจะเชยไปซะแล้ว เพราะสมองที่มีขนาดเล็กแต่เมื่อมีเซลล์ประสาทอยู่กันหนาแน่นก็ทำให้สิ่งมี ชีวิตมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนได้
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย 5 สถาบัน ร่วมกันหาคำตอบจากปรากฏการณ์ครั้งนี้ โดยผ่าสมองนกจำนวน 28 สายพันธุ์ และฝานสมองออกเป็นแผ่นบางๆ ทำให้เซลล์ประสาท (Neuron) คงที่ จากนั้นก็ลงมือ “นั่งนับ” กับแบบโบราณๆกันเลย ซึ่งใช้เวลามากและมีความผิดพลาดสูง ทีมวิจัยจึงต้องขอแรงจากหลายสถาบันมาช่วยกันนับให้แม่นที่สุด
สมองที่มีขนาดใหญ่ทำให้มันมีอุปสรรคในการบิน พวกมันจึงมีวิวัฒนาการสมองขนาดเล็กแต่ทรงประสิทธิภาพไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเลย
ที่มา – http://www.scientificamerican.com/…/bird-brains-have-as-ma…/
ภาพ – africangreyparrot.org