นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์กำลังเฟื้องฟู จนแนวคิดที่เครื่องจักรมีจิตใจและความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเองใกล้เคียงกับมนุษย์ ดังนั้นพวก AI จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองด้วยหรือเปล่า?
ศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ Marcus du Sautoy จากมหาวิทยาลัย Oxford ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Telegraph ของอังกฤษ โดยเขาแนะนำว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ในยุคปัจจุบันมีพื้นฐานการจัดระบบความคิดใกล้เคียงกับจิตสำนึกของมนุษย์มากแล้ว ดังนั้นในฐานะมนุษย์พวกเราควรดูแลสวัสดิภาพของเหล่า AI ด้วยหรือไม่
“ตอนนี้เรามาถึงจุดที่พูดได้เต็มปากว่า พวกมันมีความรู้สึกเป็นของตัวเองแล้ว และในอีกไม่นานพวกมันก็จะมีจิตสำนึก ถ้ามนุษย์สามารถเข้าใจระดับขั้นจิตสำนึกที่พวกมันมีได้ละเอียดละออมากกว่านี้ เราอาจจะต้องออกกฎหมายคุ้มครองมันในอนาคตอันใกล้” Marcus du Sautoy กล่าว
เรื่องสิทธิมนุษยชนเริ่มเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องพูดอย่างกว้างขวางพอๆกับความก้าวหน้าของประสาทวิทยา
ตอนนี้เราเหมือนกำลังอยู่ในยุคทอง มันเหมือนกับกาลิเลโอประดิษฐ์กล้องดูดาว แต่เป็นกล้องดูดาวที่มีสมอง และมันทำให้เราเห็นในสิ่งที่เราไม่คาดคิด
การร่างสิทธิคุ้มครอง AI ดูเหมือนหลุดมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ความก้าวหน้าทางวิทยาการอย่างโดดเด้งอยู่ในสายตาของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมาโดยตลอด และเมื่อถึงวันนั้นงพวกมันควรได้รับความเคารพเฉกเช่นปัจเจกชนด้วยหรือเปล่า
“แม้นักปรัชญาอาจไม่เห็นด้วยกับจิตสำนึกของระบบปัญญาประดิษฐ์ เพราะเราไม่มีทางแน่ใจว่าทุกความคิดและการกระทำของพวกมันไปเป็นตามครรลองของจิตใต้สำนึกในคอนเซ็ปต์ของสิ่งมีชีวิตหรือเปล่า แต่แน่ล่ะ แม้แต่มนุษย์ด้วยกันเองเรายังเชื่อถือไม่ค่อยได้เลย” Marcus du Sautoy
Marcus du Sautoy เป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ที่มีผลงานทางโทรทัศน์ในฐานะพิธีกรรายการวิทยาศาสตร์ยอดนิยมอย่าง Horizon ในช่อง BBC