หลังจากเหตุการณ์ที่ฮิโรชิมะเพียง 3 วัน กองทัพสหรัฐฯ ก็ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่สอง ‘แฟตบอย’ ลงเหนือหุบเขาอุรารมิ กลืนเมืองนางาซากิเข้าไปในหมอกควันและทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างต่ำ 70,000 ราย
ทั้งสองเหตุการณ์ทำให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้และนำไปสู่จุดสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (เพื่อเริ่มต้นสงครามเย็น) เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1945 แต่มันก็ทิ้งร่องรอยความเจ็บปวดอีกมากให้สังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะกับ ‘ฮิบะคุชะ (hibakusha)’ หรือกลุ่มผู้รอดชีวิตแต่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีทั้งรุ่น 1 และ 2 ราว 400,000 – 600,000 คน
ในปี 2016 บารัก โอบามา ในฐาะประธานธิบดีสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเคารพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่อนุสรณ์สถานผู้เสียชีวิตในเมืองฮิโรชิมะ และขอให้ประชาคมโลกเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและใช้อย่างถูกศีลธรรม อย่างไรก็ดี เขายืนยันไม่ขอโทษต่อเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะถือว่ามันคือการตัดสินใจที่นำไปสู่จุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 และหยุดความสูญเสียของชาวญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ไม่ให้มากไปกว่าที่เป็น
ทางด้าน ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่าการมาเยี่ยมเยือนของโอบามาคือ “ความกล้าหาญ” ที่มาเผชิญหน้าความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากระเบิดนิวเคลียร์ และตัวเขาเชื่อว่ามันจะทำให้สหรัฐฯ มุ่งมั่นสร้างโลกที่ปราศจากนิวเคลียร์ต่อไป
อ่านบทความ เกิดอะไรขึ้นที่ฮิโรชิมะ-นางาซากิ? ประวัติศาสตร์หลังทิ้งระเบิดที่ไม่ถูกเล่าใน ‘Oppenheimer’ ต่อได้ที่: https://thematter.co/social/oppenheimer-1945-atomic-bombings/209546
อ้างอิงจาก:
https://www.bbc.com/thai/international-53682759
https://www.bbc.com/thai/international-40831613
https://thestandard.co/onthisday270564/
https://edition.cnn.com/2015/08/05/asia/japan-hiroshima-nuclear-lessons/index.html