หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับศิลปะแบบ เบาเฮ้าส์ (Bauhaus) กันไปในตอนที่แล้ว ทำให้เราได้เข้าใจถึงปรัชญาการออกแบบที่เน้นความเรียบง่าย สื่อสารผ่านรูปร่างเรขาคณิต และเป็นสไตล์การออกแบบที่ส่งอิทธิพลมาถึงนักออกแบบรุ่นหลังอย่างยาวนาน
สำหรับในตอนนี้เราจะมาพูดถึงการนำศิลปะมาผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยี และสื่อสารออกมาผ่านการออกแบบ “แสง” ทั้งการปรากฏขึ้นของรูปหรือลายเส้นที่เป็นเรขาคณิต แสงไฟที่ถูกออกแบบโดยใช้วิธีคิดแบบการสร้างสรรค์งานศิลปะจะเป็นอย่างไร เราจะพาไปดูตัวอย่างจากศิลปินชั้นนำทั้ง 3 คน
คริส เลวีน (Chris Levine)
ศิลปินที่เพิ่งเข้ามาแสดงงานในประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว เขาเป็นช่างภาพชาวอังกฤษที่อยู่เบื้องหลังพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ ในวโรกาสเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีที่ผ่านมา
คริสเป็นศิลปินและนักออกแบบผู้บุกเบิกการจัดแสดงงานศิลปะด้วยแสง เลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างภาพและความรู้สึกที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงภายใน ความโดดเด่นของเขาอยู่ที่การทำงานข้ามศาสตร์ ผสมผสานผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบทั้งโฮโลแกรม ภาพถ่าย และเลเซอร์ ในหลากหลายแพลทฟอร์ม อาทิ คอนเสิร์ต งานอินสตอลเลชั่น การแสดง แฟชั่น หรืองานออกแบบ ที่สะท้อนสภาวะที่อยู่ภายในจิตวิญญาณออกเขาออกมาได้อย่างชัดเจน
คริสเป็นศิลปินที่ทำงานโดยได้รับแรงบันดาลใจมากจากการฝึกนั่งสมาธิ ทำให้งานของเขานั้นสะท้อนเรื่องมิติของจิตวิญญาณในระดับต่างๆ
เรฟิก อนาดอล (Refik Anadol)
เรฟิกเป็นศิลปินสื่อและผู้กำกับภาพยนตร์จากอิสตันบูล จุดเด่นของเขาคือสร้างสรรค์ผลงานจากธรรมชาติของพื้นที่ เขาเปลี่ยนข้อจำกัดให้เป็นจุดเด่นและสร้างลูกเล่นให้กับแต่ละสถานที่ได้อย่างน่าตื่นเต้น เรฟิกชื่นชอบที่จะทำงานศิลปะในพื้นที่สาธารณะ โดยเลือกใช้การแปลงข้อมูลพาราเมติก หรือการออกแบบด้วยชุดคำสั่งเพื่อกำหนดโครงสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ ให้ผลลัพธ์เป็นประติมากรรมและเพอร์ฟอร์มานซ์ภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ ปรัชญาการทำงานของเรฟิกเองคือการพร่าเลือนเส้นแบ่งระหว่างความเป็นดิจิทัลและกายภาพจริง ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมและสื่อศิลปะ
ในงานเทศกาลดนตรี SXSW (South by Southwest งานประชุมสัมมนาและงานเทศกาลประจำปีของวงการเพลง ภาพยนตร์ และการสื่อสาร (Interactive) จัดเป็นประจำทุกปี) โดยในปีนี้จัดที่เมืองออสติน ที่เราได้มีโอกาสเห็นผลงานใหม่ของเรฟิก ‘infinity’ กับการออกแบบแสงในห้องกระจก ติดตั้งโปรเจ็กเตอร์ที่สะท้อนแสงไปมาจนเกิดเป็นแพทเทิร์นบนผนังทั้ง 4 ด้าน คล้ายกับกล้องคาไลโดสโคปที่เป็นภาพสะท้อนกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เขากล่าวว่า “แสงคือองค์ประกอบหลักของการทดลอง เป็นความพร่าเลือนที่เชื่อมต่อขอบเขตระหว่างความจริงและพื้นที่เสมือน”
โซ ฟูจิโมโต้ (Sou Fujimoto)
เราอาจจะคุ้นเคยกับฟูจิโมโตในฐานะสถาปนิกชาวญี่ปุ่น ที่สร้างทางเลือกอันน่าจดจำให้กับงานสถาปัตยกรรมในญี่ปุ่น เปลี่ยนจากความเรียบง่าย สีสันและวัสดุธรรมชาติ สู่การสร้างพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เปิดรับเงื่อนไขของบริบทโดยรอบ และสร้างงานออกแบบที่อยู่เหนือความคาดหมายในทุกครั้ง
นอกเหนือจากงานออกแบบสถาปัตยกรรมหรือตกแต่งภายในแล้ว หนึ่งในผลงานที่เราเห็นว่าฟูจิโมโต้เลือกสื่อสารออกมาผ่านสื่อใหม่อย่างแสงไฟ ที่เขาใช้ในเทศกาลออกแบบมิลานเมื่อปี 2016 เขาเลือกใช้สปอต์ไลท์ กระจก และเสียง มาสร้างเป็น “ป่าแห่งแสง” เป็นการทำงานให้กับแบรนด์เสื้อผ้า COS ฟูจิโมโตใช้สปอต์ไลท์ในการสร้างพื้นที่ให้เกิดแสงกับเงา ลำแสงจะตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของผู้เข้าชมที่เกิดขึ้นภายในห้อง Cinema Arti โรงภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1930 โดยสถาปนิกระดับตำนานอย่างมาริโอ เชรกินี (Mario Cereghini)
ดั้ก ยูนิต (Duck unit)
กลุ่มศิลปินที่ฝากผลงานด้านการออกแบบแสงในอีเว้นท์ชั้นนำของเมืองไทย สตูดิโอนี้ก่อตั้งโดยเรืองฤทธิ์ สันติสุขและพรพรรณ อารยะวีรสิทธิ์ ทั้งคอนเสิร์ตมันใหญ่มาก (Big Mountain Concert) คอนเสิร์ตของนักร้องชั้นนำของประเทศ ทั้งฮิวโก้ ปาล์มมี่ หรือแบล็กเฮด สร้างเรื่องราวและความรู้สึกที่ได้รับจากการได้ดูแสงที่ถูกออกแบบมาโดยนำงานศิลปะเข้ามาปรับใช้ ทำให้เกิดเป็นความน่าจดจำที่พิเศษทุกครั้งที่ได้เห็นผลงานจาก Duck unit
งาน Federbräu presents the German Klub curated by Duck Unit เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ทีม Duck Unit ได้มีโอกาสแสดงฝีมือและไอเดีย นำเสนอเทคโนโลยีผ่านไลท์ติ้งดีไซน์สุดล้ำ โดยงานนี้ทางเฟเดอร์บรอย (Federbräu) จัดขึ้นเพื่อสื่อสารแนวคิด Simply German, Passion für Perfektion การทุ่มเททำสิ่งที่ตนรักและเชื่อมั่น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นอย่างสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ เพราะไม่ใช่แค่ดี … แต่ต้องดีที่สุด ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับที่ Duck Unit ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน
งานนี้มีโจทย์ในการออกแบบไลท์ติ้งดีไซน์ เพื่อจำลองบรรยากาศในงานให้เหมือนกับกำลังปาร์ตี้อยู่ในคลับคูลๆ ที่เยอรมัน ดังนั้นทาง Duck Unit จึงนำแรงบันดาลใจจากศิลปะสไตล์เบาเฮ้าส์ (Bauhaus) ของเยอรมัน มาสร้างสรรค์ผลงาน เช่น เลือกใช้รูปทรงเรียบง่ายแต่สร้างอิมแพ็ค ในงานจะเลือกใช้องค์ประกอบสีขาว – แดง – เทา – ดำ เป็นหลัก ทั้งยังเลือกใช้รูปทรงเรขาคณิต ลดทอนองค์ประกอบที่ไม่จำเป็น เส้นสายทำมุม 45 องศา การสื่อสารความเรียบง่ายแต่สวยงามในแบบของเบาเฮ้าส์ สร้างบรรยากาศแบบ German Klub ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง
The inspiration is taken from the Bauhaus school’s design approach – emphasizing simplicity and getting rid of unnecessity until the subject is left with only memorable perfection.”, a few words of Passion für Perfektion from lighting team extraordinaire. #DuckUnit. #Federbräu
Posted by Federbräu on Tuesday, April 11, 2017
แต่กว่าจะสำเร็จออกมาเป็นผลงานที่สร้างความตื่นตาได้ขนาดนี้ ผ่านกระบวนการคิดและสร้างสรรค์งานอย่างไร คุณต้น เรืองฤทธิ์ สันติสุข ตัวแทนจากทีม Duck Unit จะมาบอกเล่าให้เราได้ฟัง และนี่คือเทคนิคของการสร้างสรรค์งาน เพื่อผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ
ติดตามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook.com/Federbrauofficial