แม้เขาจะไม่เห็นด้วยกับเราในข้อนี้ แต่จากมุมมองของเรา เต๋อ—นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ (1984- ) ปล่อยผลงานออกมาทีไรก็มีคนรอดูอยู่เสมอ และปลายปี 2017 นี้ เขาก็กลับมากับหนังส่วนตัวเรื่องล่าสุด นั่นคือ Die Tomorrow
ท่ามกลางความผันผวนป่วนปั่นของวงการหนัง การต่อสู้ระหว่างทุนนิยมและอุดมการณ์ ความกระอักกระอ่วนระหว่างแมสกับอินดี้ ความเจ็บปวดไม่ทางใดก็ทางหนึ่งของคนทำหนัง ทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน แต่นวพลสามารถดำรงอยู่ท่ามกลางความผันผวนป่วนปั่นนั้นได้ดีอย่างที่น้อยคนจะทำได้ เขาสามารถเป็นตัวเองอย่างสุดโต่งและ ‘ขาย’ ได้ในเวลาเดียวกัน และไม่ว่าคนจะรัก ชอบ เฉย หรือชังงานของเขา เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่านวพลสร้างปรากฏการณ์ที่น่าสนใจให้กับวงการหนังไทยได้ทุกครั้ง
Die Tomorrow ก็น่าจะสร้างสิ่งนั้นได้อีกเช่นเคย และบทสนทนาชิ้นนี้ก็ทำให้เราเองได้รู้จักหนังที่มาในฟอร์มของอัลบั้มพร้อมทำตัวเป็นอนุทินงานศพของนวพล ได้มากขึ้น
Life MATTERs : Die Tomorrow เกิดขึ้นได้ยังไง
นวพล : มันเกิดจากหลายจุดมาก แต่หลักๆ คือเราเริ่มคิดเรื่องความตายเยอะขึ้นเรื่อยๆ ต้องย้อนไปก่อน คือทุกเรื่องที่ผ่านมามันเป็นหนังส่วนตัวหมดเลย มันมาจากพาร์ทใดพาร์ทหนึ่งของชีวิตเสมอ เป็นเหมือน document เรื่องของเราในช่วงปีนั้นๆ เพียงแต่มันไม่ได้ส่วนตัวจนคนอื่นดูไม่ได้ อย่างเรื่องฟรีแลนซ์ฯ มันก็เป็นเรื่องของเราที่คนอื่นเก็ตมากๆ เพราะมีหลายคนที่เป็นแบบเรา
ส่วนเรื่องนี้ Die Tomorrow ก็จะบันทึกช่วงชีวิตนี้ เราไม่รู้ว่าคนอื่นเป็นเหมือนกันหรือเปล่านะ แต่น่าจะคล้ายๆ กัน คือเมื่อเราเข้าสู่ช่วงยี่สิบปลายๆ หรือต้นสามสิบ เราจะไปงานศพเยอะพอๆ กับงานแต่ง ต่อให้ไม่ใช่ญาติเราซะทีเดียว บางทีเป็นงานอาม่าเพื่อน หรือต่อให้ไม่สนิทกัน แต่พอเราเจอบ่อยๆ มันก็ชวนให้คิดว่ามันมีสิ่งนี้อยู่จริงๆ ว่ะ เราเห็นความตายหลายรูปแบบ เจอรีแอคชั่นหลายแบบ หลายครั้งไม่ใช่การแก่ตาย เราเลยรู้สึกว่ามันเริ่มใกล้ตัวเข้ามาทุกที เลยอยากลองทำหนังเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อบันทึกว่าตัวเองคิดอะไรเกี่ยวกับหัวข้อนี้
จริงๆ หนังเรื่องที่ผ่านมาของเรามันก็มีเรื่องของความตายอยู่นะ ไม่รู้เพราะอะไรเหมือนกัน ก็ไม่เข้าใจตัวเอง คือไม่ได้รู้สึกดีเพรสหรืออะไรกับมันนะ แค่สนใจ แล้วมันก็เลยมาอยู่ในหนัง อย่างเรื่องของยุ่นก็มีฉากงานศพ เพราะช่วงนั้นเราเริ่มคิดถึงเรื่องนี้แล้ว อาจเพราะยุคนี้ ข้อมูลข่าวสารมันมาถึงเราได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่แค่ได้ไปงานศพ ในฟีดเองก็จะมีคนตายอยู่เรื่อยๆ อาจเป็นใครสักคนบนโลก แต่เขาตาย
ซึ่งเรารู้สึกว่าความตายมันกำหนดความหมายของชีวิตประมาณหนึ่ง เหมือนเดดไลน์ที่บอกเราว่าทุกคนมีทรัพยากรจำกัด อยู่ที่พวกคุณแล้วว่าจะใช้มันยังไง ดังนั้นพอเราพูดถึงความตาย ก็กลายเป็นเราทำหนังเกี่ยวกับชีวิตซะมากกว่า
เราว่ามันสำคัญกับเรานะ ก่อนทำอาจจะรู้สึกอีกแบบ แต่พอทำเรื่องนี้จบแล้ว ความรู้สึกก็เปลี่ยนไป เราได้บันทึกสิ่งที่คิด ได้อยู่ในกระบวนการ แล้วก็ได้ solution บางอย่างหลังจากทำเสร็จ และสำหรับเรา เรื่องนี้เหมือนงานเพนต์ติ้ง เหมือนทำนิทรรศการ เป็นงานชิ้นเล็กที่แสดงอยู่ในโรงภาพยนตร์เท่านั้นเอง
Life MATTERs : solution ที่คุณได้จากการทำหนังเรื่องนี้คืออะไร
นวพล : เหมือนเราได้ยอมรับและเข้าใจมัน หลังจากนี้เราจะเตรียมตัวอะไรไหม ก็ไม่รู้เหมือนกัน แค่รู้สึกว่ามันคือระบบที่เราต้องอยู่กับมัน solution เลยเป็นการที่เราเข้าใจและไม่ได้กลัว ส่วนการบริหารจัดการชีวิตเราไม่ได้เตรียมอะไรมากมาย กลายเป็นว่า ยิ่งรู้ ยิ่งไม่เตรียม
เรามองแค่ว่า วันนี้ทำเสร็จแล้วนอนหลับรึเปล่า หรือนอนหลับไปแล้ว พรุ่งนี้เราอาจไม่ตื่นก็ได้ แต่วันนี้เราได้ทำงาน ได้เจอคน วันนี้เราคุยกับสื่อ 5 เล่มเลยว่ะ ก็ถือว่าสนุก เป็นวันที่ดีแล้ว แล้วเดี๋ยวมันก็จบ มันไม่มีการเตรียมอะไร คือต่อให้เตรียมเราก็ตายอยู่ดี
Life MATTERs : น้ำเสียงที่มีต่อความตายเป็นอย่างไรบ้าง ในหนังเรื่องนี้
นวพล : มีหลายแบบ เพราะเราก็คิดหลายเรื่อง เช่นเวลากำลังจะตายแล้ว คนเรารู้สึกยังไง มันคงจะรู้สึกวันต่อวันมากๆ ซึ่งจริงๆ เรื่องความตายมันส่งผลกับการทำงานของเราเหมือนกันนะ คือพอทำงาน เราก็อยากทำที่สนุก เพราะการทำหนังมันใช้เวลานาน กว่าจะเสร็จเรื่องหนึ่ง สมมติทำไปกลางคันแล้วเราตาย แล้วถ้ามันเป็นโปรเจกต์ที่ไม่สนุก เราก็คงตายไปพร้อมกับความไม่สนุก เราเลยเลือกงานที่เราทำแล้วจะสนุกกับมันได้ทุกวัน คิดว่าระหว่างทางมันสำคัญประมาณหนึ่ง
มีช่วงหนึ่งเรานอนไม่หลับด้วยมั้ง แล้วการนอนไม่หลับมันคือที่สุดของความแย่ ไม่มีอะไรแย่ไปกว่านี้แล้วกับการที่อยากนอนแต่นอนไม่ได้ เลยคิดว่าความสุขจริงๆ ของชีวิตคือการนอนหลับรึเปล่านะ อย่างวันที่นอนหลับแน่ๆ คือวันที่งานเสร็จ มันโล่ง แล้วเราเข้านอน ก็เลยคิดว่าเราจะทำให้ทุกวันเป็นวันแบบนั้นได้มั้ย
สำหรับคนทำงานครีเอทีฟ ตั้งแต่คุณตื่นขึ้นมาปุ๊บทุกอย่างจะพุ่งเข้ามาในหัวทันที เหมือนคุณอยู่กับความเยอะมากๆ ตลอดเวลา ซึ่งในทางหนึ่งคุณก็สนุกกับมัน อีกทางหนึ่งมันก็เยอะจนตาลาย แล้วพออยู่แบบนี้ 12-13 ชั่วโมง เราพบว่าสิ่งที่เราต้องการที่สุดคือการไม่มีอะไรเลย ซึ่งยากมากนะ เพราะต่อให้คุณไปนั่งในที่ที่ไม่มีคน ก็มีอะไรวิ่งในหัวคุณอยู่ดี
Life MATTERs : สำหรับคุณแล้ว การนอนหลับกับการตาย มีความคล้ายกันยังไงบ้าง
นวพล : มันไปที่มืดๆ เหมือนกันมั้ง แล้วมันจบอ่ะ สำหรับคนทำงานครีเอทีฟ ตั้งแต่คุณตื่นขึ้นมาปุ๊บทุกอย่างจะพุ่งเข้ามาในหัวทันที เหมือนคุณอยู่กับความเยอะมากๆ ตลอดเวลา ซึ่งในทางหนึ่งคุณก็สนุกกับมัน อีกทางหนึ่งมันก็เยอะจนตาลาย แล้วพออยู่แบบนี้ 12-13 ชั่วโมง เราพบว่าสิ่งที่เราต้องการที่สุดคือการไม่มีอะไรเลย ซึ่งยากมากนะ เพราะต่อให้คุณไปนั่งในที่ที่ไม่มีคน ก็มีอะไรวิ่งในหัวคุณอยู่ดี
การทำงานครีเอทีฟคุณต้องนอยด์ตลอดเวลา คุณไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่จะออกมาดีหรือไม่ดี เหมือนชีวิตมันพะวงอยู่ข้างหน้ากับสิ่งที่มองไม่เห็นจนบางทีก็เหนื่อยเหมือนกัน หลังๆ เราเลยพยายามวางให้ได้ ช่วงนี้ก็พอจะทำได้แล้วนะ
Life MATTERs : แปลว่าทุกวันนี้นอนหลับสบายขึ้นแล้วเนอะ
นวพล : ก็ดีขึ้น ก็จะมีบางวันที่นอยด์ๆ บ้าง แต่ถือว่าดีขึ้นมากแล้ว เพราะเราเลือกงานทำด้วยมั้ง สมมติทำโฆษณาเราก็ไม่ได้รับทุกอัน ดังนั้นงานก็จะไม่ได้เยอะมาก เราเลยอาจจะจนกว่าคนอื่น แต่เราเลือกทางนี้น่าจะเหมาะกับเรา
เพราะเราเป็นคนคิดช้าด้วยมั้ง พอเลือกแบบนี้แล้วก็จะมีเวลาคิดประมาณหนึ่ง เราอยากค่อยๆ ทำ ไม่ต้องรีบมากขนาดนั้น ในแต่ละวันคุณก็จะไม่นอยด์มาก สมมติตอนนี้ยังคิดไม่ออกเรายังเหลืออีก 6 วัน แล้วมันก็จะค่อยๆ คิดได้มากขึ้น ดังนั้นถึงช่วงนี้เราทำโฆษณาอยู่ แต่ทุกวันมันก็จะเป็นวันที่ไม่ได้เครียดมาก แต่เราก็ต้องทำให้มันดีจริงๆ นะ เพราะเขาอุตส่าห์รอเราแล้ว ก็ต้องบริหารชีวิตให้ดี ไม่ใช่แค่ชิลล์ๆ ทำอะไรก็ได้
Life MATTERs : ในขณะที่หนังส่วนตัวก็อาจจะไม่ได้ทำเงินมากเท่างานคอมเมอร์เชียล แถมเหนื่อยพอกัน ทำไมคุณถึงยังทำหนังออกมาอยู่เรื่อยๆ
นวพล : ไม่รู้เหมือนกัน (หัวเราะ) เราเพิ่งคุยกับน้องเองว่าเรื่องนี้เราเหนื่อยสุดเลย มันเหมือนตอนเรื่อง 36 ที่ทำเองหมดเลย แต่ตอนนั้นเราฉายในห้องประชุมเล็ก มันไม่มีขั้นตอนอะไรมาก ก็ยกคอมพิวเตอร์ไปฉาย ด้วยประชากรผู้ช่วยงานประมาณ 2-3 คน ตัดมา 5 ปี ประชากรมีเท่าเดิม แต่สิ่งที่เราดีลด้วยคือโรงหนัง 5 โรง
แล้วเวลาทำหนังฉายโรง ก็ต้องไปเข้าห้องตัดต่อที่เป็นห้องใหญ่ ดีเทลมันเยอะมากๆ ด้วยปริมาณคนที่เท่าเดิม เลยเหนื่อยขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ก็โชคดีหน่อยที่เราทำมา 4 เรื่องแล้ว เลยพอรู้กระบวนการว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งบางอันมันก็อาจจะไม่ดีเท่าการมีหลายๆ คนนะ แต่เราก็ช่วยๆ กันแหละ
อย่างตอนนี้พอหนังตัดต่อเสร็จแล้ว เราก็ยังเป็นเหมือนพีอาร์ พรุ่งนี้ก็ต้องเข้าไปมิกซ์เสียงที่จะฉายในโรง วันถัดไปก็ต้องดูเรื่องทำโปรโมท ปริ๊นติ้งที่ต้องทำก็ต้องตามดู หาวิธีสื่อสาร เหมือนเราต้องทำทุกตำแหน่ง ถ้าสตูดิโอมี 10 ตำแหน่ง เราก็ทำตำแหน่งที่หนึ่งถึงสิบสลับไปเรื่อยๆ ในอาทิตย์นั้นๆ เลยคิดกับตัวเองว่า เชี่ย นี่โชคดีนะที่กูชอบ ถ้าไม่ชอบกูตายไปนานแล้ว มันคือความซัฟเฟอร์ขั้น 100 แต่ก็สนุกดี
เราชอบการถ่ายหนัง การกำกับนักแสดงก็ส่วนหนึ่งนะ แต่หนังมันเป็นการบันทึกที่ดีมาก มีทั้งภาพและเสียง เราสร้างโลกที่เราคิดขึ้นมาได้ มันคือความคิดของเราในช่วงเวลานี้ ที่อาจจะส่งต่อ หรือไม่ส่งต่อก็ได้ แต่มันได้ทำแล้ว
Life MATTERs : ความสนุกที่เอาชนะความซัฟเฟอร์ขั้น 100 คืออะไร
นวพล : เราชอบการถ่ายหนัง การกำกับนักแสดงก็ส่วนหนึ่งนะ แต่หนังมันเป็นการบันทึกที่ดีมาก มีทั้งภาพและเสียง เราสร้างโลกที่เราคิดขึ้นมาได้ มันคือความคิดของเราในช่วงเวลานี้ ที่อาจจะส่งต่อ หรือไม่ส่งต่อก็ได้ แต่มันได้ทำแล้ว
ในเชิงการทำงาน เราก็อยากทำงานที่เป็นตัวเรา แต่ความยากคือตัวเราไม่ได้เข้าถึงทุกคนได้ขนาดนั้น เราก็ได้แต่ทำไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนรู้สึกว่านี่เป็นร้านๆ หนึ่งขึ้นมาได้จริงๆ เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่งที่โอเค เพราะหนังเรามักถูกตั้งข้อสงสัยอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เรื่องแรก กระทั่งฟรีแลนซ์ยังโดนมองว่าเป็นหนังฮิปสเตอร์อยู่เลย เอาจริงเราไม่ได้มองว่าทำหนังฮิปสเตอร์ด้วยซ้ำ แต่โดนแปะป้ายกันไป เราไม่รู้ทำไงก็ได้แต่ปล่อยเขาไปเถอะ เพราะมันไม่ใช่เรื่องของเรา
ถึงจุดหนึ่งเราก็ไม่ได้คิดว่านี่คือแมสหรืออินดี้ เราแค่อยากทำให้มันต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แม้จะไม่ได้มีคนดูมากขนาดนั้นแต่ก็เยอะพอที่จะทำให้เราทำต่อไปได้เรื่อยๆ
Life MATTERs : ความสำเร็จของหนังเรื่องที่ผ่านมา ส่งผลกับคุณมากน้อยแค่ไหน
นวพล : ความสำเร็จของเรื่องก่อนหน้าไม่ส่งผลนะ เรารู้อยู่แล้วว่าทำทุกเรื่องต้องเริ่มใหม่ อย่างผู้กำกับที่เก่งมากๆ เขาก็มีเรื่องที่ดีที่สุดกับเรื่องที่แย่ที่สุดของเขา ดังนั้นถ้าลุงมาร์ติน สกอร์เซอเซ่ยังมีหนังแบบนั้น เราก็ต้องมีได้สิ โอเค ข้อดีอาจจะคือ พอเราทำไป 4 เรื่องแล้ว คนก็ติดตามมากขึ้น ข้อไม่ดีคือคนก็จะคาดหวังมากขึ้น ซึ่งถามว่านั่นใช่หน้าที่เรามั้ย ก็ไม่ใช่ หน้าที่เราคือทำให้ดีที่สุด แต่เราก็ไม่รู้ว่าจะถูกใจพวกคุณหรือเปล่า
บางคนจะคิดว่าเราทำอะไรออกมาก็มีคนดู ซึ่งไม่จริง ถ้าเป็นแบบนั้น The Master ต้องมีคนดูนะ ดังนั้นมันอยู่ที่ว่าเรื่องใหม่ของเราเล่าเรื่องอะไร แล้วมันแตะคนได้มากแค่ไหน ซึ่งระดับการพูดกับคนในแต่ละเรื่องก็จะไม่เท่ากัน Die Tomorrow อาจจะพูดกับคนน้อยกว่าฟรีแลนซ์ฯ แต่ก็ช่วยไม่ได้ นี่คือสิ่งที่เราคิดในช่วงนี้ เราก็ทำมันให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในการทำเรื่องนี้มันไม่ได้มีเป้าหมายว่าต้องพิชิตอะไร ซึ่งเรื่องนี้หน้าอาจจะมีก็ได้นะ แต่สำหรับเรื่องนี้เราทำเสร็จแล้ว ถ้าใครดูแล้วว่ายังไงก็ตามนั้น เราไม่ได้ตั้งเป้าว่า เด็กกรุ๊ปนี้จะต้องมาดู หรือต้องผ่านจุดไหนไปได้ แต่ก็ไม่แน่ในอายุ 34 เรื่องหน้าอาจจะมีเป้าหมายขึ้นมา อาจอยากทำหนังปรัชญาวัยรุ่นที่มันมากๆ ก็อาจจะได้ เราอาจจะมีความสนใจใหม่ๆ หรือปีหน้าเราอาจจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ได้ แต่มันก็เป็นเรื่องของเรา
ใครจะอยู่กับเรื่องนั้นก็แล้วแต่ แต่เราไม่อยู่นานแล้ว เพราะสุดท้ายมันไม่เกิดอะไรเลย เวลาไปดูหนัง ตอนมันสนุกมากๆ เราไม่นั่งคิดหรอกว่ามันอินดี้หรือเมนสตรีม แต่มันคือหนังที่โอเค หรือสมมติเราดูหนังรางวัลแต่มันไม่สนุก มันก็เป็นหนังที่ไม่โอเคสำหรับคนดูคนนั้น
Life MATTERs : อะไรที่ทำให้ตัดสินใจทำ Die Tomorrow เป็นหนังส่วนตัว ไม่ทำกับสตูดิโอ
นวพล : เราคิดว่าหนังเป็นทางหนึ่งที่เราจะสื่อสิ่งที่อยู่ในหัวออกไป อยู่ที่ว่าการสื่อแบบไหนจะเหมาะกับเนื้อหาไหน เราเลยไม่ได้มีปัญหากับการจะทำหนังอินดี้หรือหนังสตูดิโอ อย่างเรื่องนี้เราก็รู้ว่าถ้าเอาไปเสนอให้สตูดิโอเขาก็คงลำบากใจประมาณหนึ่ง แต่เราก็มีสตอรี่ที่อาจจะเหมาะกับเขาอยู่ แล้วเราจะสนุกในการทำงานแบบสตูดิโอ ดังนั้นเราจะไม่พูดเรื่องเมนสตรีมหรืออินดี้อะไรอีกแล้ว
ใครจะอยู่กับเรื่องนั้นก็แล้วแต่ แต่เราไม่อยู่นานแล้ว เพราะสุดท้ายมันไม่เกิดอะไรเลย เวลาไปดูหนัง ตอนมันสนุกมากๆ เราไม่นั่งคิดหรอกว่ามันอินดี้หรือเมนสตรีม แต่มันคือหนังที่โอเค หรือสมมติเราดูหนังรางวัลแต่มันไม่สนุก มันก็เป็นหนังที่ไม่โอเคสำหรับคนดูคนนั้น
Life MATTERs : แคสต์ในเรื่องนี้คับคั่งเหลือเกิน คิดว่าอะไรที่ทำให้เหล่านักแสดงยังคงอยากร่วมงานกับคุณเสมอ
นวพล : เราไม่รู้เหมือนกันนะ แต่พอชวนไปเขาก็มา (หัวเราะ) ไม่รู้ว่าคนอื่นคิดยังไงนะ แต่พอทำงานด้วยกันแล้วเรารู้สึกว่าเราผูกพันกันประมาณหนึ่ง เพราะเราเป็นคนสร้างตัวละครนั้นขึ้นมา แล้วเขาก็ต้องเข้ามารับบท เราจึงเชื่อมโยงตัวละครนั้นๆ เข้ากับเขา พอเรารักตัวละครนั้นเราก็รักนักแสดงไปด้วย เราอินกับตัวละครและนักแสดงค่อนข้างเยอะ
หนังของเราไม่ค่อยมีอะไรด้วยมั้ง สิ่งที่จะผลักดันหนังออกไปก็คือตัวละครกับนักแสดง เราเลยผูกพัน แม้บางคนเราจะเจอกันแค่สองวันก็ตาม หรือต่อให้หนังจบไปแล้ว นักแสดงหรือตัวละครนั้นก็จะยังอยู่ ทุกคนมีโลกของตัวเองสำหรับเรา ในงานโฆษณาก็เช่นกัน เราไม่ได้คิดว่าตัวละครในโฆษณาเราคือมาขายโปรดักต์แล้วกลับไป ตัวละครอย่างน้องฝรั่ง หรือลิงเถื่อน ก็จะอยู่ในโลกนั้นแหละ
แล้วพอเป็นแบบนั้น เขาก็คงรู้สึก อย่างพี่ซันนี่ เราก็กลายเป็นเพื่อนกัน สนิทกันไปเลย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่คิดว่าจะเป็นเพื่อนกับพี่คนนี้ได้ เจอกันที่จีดีเอชก็แค่นั้น เขาก็เป็นแบบนั้น ไม่ค่อยพูด แต่พอทำงานด้วยกันมันได้อยู่ด้วยกันเยอะจริงๆ เราไม่ได้แค่เวิร์กช็อปเสร็จ กลับบ้านสวัสดี แต่พอเราเจออะไรที่น่าสนใจก็จะส่งให้เขา เฮ้ยพี่ ดูตรงนี้หน่อยสิ มันได้คุยกันเยอะมาก
หรือบางคนต่อให้เจอกันนั้นเราก็มองว่าเป็นเพื่อนกัน ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบผู้กำกับกับนักแสดงเท่านั้น ก็แปลกดีเหมือนกัน เพราะบางกองฯ เราใช้เวลาสั้นมากๆ อย่างเช่นทู (สิราษฎร์ อินทรโชติ) เจอกันแค่วันครึ่ง แต่เวลานั่งคุยเราก็คุยกันได้ยาว รู้สึกสนิทกัน
Life MATTERs : เหมือนว่าคุณมีคอลเล็กชั่นผู้คนอยู่ในหัวประมาณหนึ่งไหม เวลาจะเรียกใครมาแคสต์แต่ละงาน
นวพล : แล้วแต่เรื่องนะ คือเราจะมีคอลเล็กชั่นแคสติ้งอยู่ในหัวแหละ เช่นเราชอบคนนี้ คนนี้ คนนี้ แต่ประเด็นคือเราไม่รู้ว่าคนนี้จะเล่นอะไรได้ หรือคนนี้ควรจะมาอยู่ในบทไหน มันก็แล้วแต่ว่าในเวลาต่อมามีบทอะไรที่เหมาะกับคนในเซ็ตนั้นไหม แล้วแต่ว่าจะมาแมทช์กันได้หรือเปล่า อย่างบางคนเรียกมาแคสต์แล้วปรากฏว่าเค้าเป็นคนอีกแบบหนึ่งว่ะ ไม่เหมาะกับบทนี้ แต่ทีนี้ก็รู้แล้วว่า อ๋อ เป็นคนแบบนี้ใช่มั้ย ขอไปเซฟทับภาพเดิมแป๊บนึง แล้วไว้ครั้งหน้าถ้ามีบทที่เหมาะกับเขาก็จะชวนมา
หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นหนังเรื่องสุดท้ายก็ได้ เราก็เลยคิดว่าน่าจะใช้นักแสดงเก่าที่ผ่านมาหมดเลย จะพูดว่าเหมือนเป็นงานศพก็ไม่ถือว่าร้ายแรงขนาดนั้นนะ คือถ้าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องสุดท้ายของเราก็ควรมีพวกเขาทุกคน
Life MATTERs : แล้วในเรื่องนี้ คุณเลือกแคสต์อย่างไร
เต๋อ : จริงๆ ถ้าเอาเป็นเชิงคอนเซ็ปต์ก่อน เราคิดเล่นๆ ว่าพอพูดถึงความตาย หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นหนังเรื่องสุดท้ายก็ได้ เราก็เลยคิดว่าน่าจะใช้นักแสดงเก่าที่ผ่านมาหมดเลย จะพูดว่าเหมือนเป็นงานศพก็ไม่ถือว่าร้ายแรงขนาดนั้นนะ คือถ้าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องสุดท้ายของเราก็ควรมีพวกเขาทุกคน
ข้อเสียคือเราชวนทุกคนมาไม่ได้เพราะบทมันไม่พอ เพราะฉะนั้นเราก็จะพยายามนึกก่อนว่ามีบทอะไรบ้าง แล้วมันเหมาะกับใครบ้าง อย่างทราย (ทราย—กรมิษฐ์ จากเรื่อง 36) เรารู้สึกว่ามันต้องมีว่ะ แต่ตอนแรกก็ยังไม่รู้ว่าจะมีบทหรือเปล่า แต่ก็จะเป็นชอยส์แรกๆ ที่ถ้ามีบทที่มันเหมาะก็น่าจะชวนมา
ซึ่งก็เสียดายบางคนที่อยากให้มา แต่เราไม่มีบทให้เขา แล้วเราก็อยากให้หนังมันโอเคด้วยไม่ใช่จะเป็นหนังรวมเพื่อนกันอย่างเดียว ไม่อยากให้แบบ บทมันไม่เหมาะกับอีนี่เลยทำไมถึงมาเล่นวะ (หัวเราะ)
Life MATTERs : เวลาแลกเปลี่ยนเรื่องความตายกับทีมหรือนักแสดง มีมุมมองที่เซอร์ไพรส์คุณบ้างไหม
เต๋อ : มี มันจะมีบทสัมภาษณ์อยู่ ก็ว่าจะทำเป็นคลิปปล่อยเหมือนกัน เราคิดว่ามุมมองของคนมันหลากหลายตามความสนใจของแต่ละคน แล้วก็ตามความสนใจแต่ละวัยว่ะ พวกวัยรุ่นหน่อยก็จะมองอีกแบบ คนแก่จะคุยอีกแบบ เราว่าจริงๆ วัยรุ่นอาจจะกลัวกับอยากรู้ว่าโลกหน้าคืออะไร แต่ถ้าโตขึ้นมาหน่อยพวกแก๊งเราขึ้นไป มันจะ calm ลงนิดหนึ่ง มันจะเข้าใจ อาจจะเข้าใจแต่รับไม่ได้ อาจจะเข้าใจแต่ก็กลัว แต่เข้าใจ
ถ้าให้สรุปเรารู้สึกว่า พอถามเรื่องความตาย เราจะเห็นวิธีที่เขามองชีวิตมากกว่า ว่า อ๋อ นี่คือความกลัวของเขาว่ะ นี่คือสิ่งที่เขาอยากทำ เหมือนคำถามมันคล้ายๆ ว่า ถ้าหมดเวลาตอนนี้จะโทรไปหาใครก่อน เราจะรู้เลยว่า top one ในชีวิตของเขาคือใคร ประมาณนั้น
Life MATTERs : แปลว่าความตายก็เป็นหัวข้อสนทนาที่ดีเหมือนกันเนอะ ในการทำความรู้จักกับใครสักคน
เต๋อ : ก็อาจจะ แต่ไม่รู้จะหดหู่ไปสำหรับคนอื่นหรือเปล่า บางคนอาจจะแบบพี่ชวนคุยอะไรดาร์กจัง แต่เวลาเราคุยกับวัยกันเองมันคุยกันได้อย่างปกติมากเลย แต่ว่าเวลาไปคุยกับเด็กๆ บางทีก็อาจจะเป็นอีกแบบหนึ่ง
อย่างคนรุ่นเราเองเหมือนเราเข้าใจความตายมากขึ้น แต่ลึกๆ ก็เชื่อว่าต่อให้เราพูดอะไรกันไปในตอนนี้ ถ้าถึงตอนที่เราเข้าใกล้มันจริงๆ เราอาจจะรู้สึกอีกแบบหนึ่งก็ได้ ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าจะมาบอกได้หรือเปล่า อาจจะไปแล้ว หรืออาจจะรู้สึกแต่พูดไม่ได้แล้วก็ได้ ได้แค่นอนอยู่บนเตียง
Life MATTERs : คุณเคยมองไปถึงโลกหลังความตายมั้ย
นวพล : ไม่รู้ว่ะ เราแค่คิดว่าอาจจะมีโลกหลังความตาย แต่อาจจะยังไม่ใช่เรื่องที่เราสนใจมั้ง มันอาจจะเป็นการจบไปมืดๆ ก็ได้ แต่ว่าไม่รู้จะคิดอะไรกับมันเพราะว่า เชี่ย ทุกวันนี้กูก็ยุ่งพออยู่แล้ว (หัวเราะ) เอาวันนี้ให้รอดก่อนเถอะ อย่าเพิ่งคิดถึงชาติหน้าเลย แต่ว่าถ้ามีเดี๋ยวก็เจอมั้ง เหมือนพอไม่รู้ว่าจะเจออะไรก็เลยไม่รู้จะดีลอะไรกับมันเท่านั้นเอง
เราว่าแค่ชีวิตเราก็ค้นหาไม่หมดแล้วอะตอนนี้ หมายถึงว่าไม่ต้องเป็นชีวิตหลังความตายหรอก เอาแค่ว่าเราไปแอฟริกาใต้ก่อนมั้ย (หัวเราะ) ที่นั่นเรายังไม่เคยเห็นเลยนะ จะไปอีกโลกหนึ่งแล้วเหรอ รู้สึกว่าโลกหลังความตายก็เป็นแค่อีกประเทศหนึ่งมั้ง ซึ่งถ้ามันมีก็คงได้ไปอยู่แล้ว (หัวเราะ) ถ้ามันจะมีจริงๆ น่ะนะ ก็เลยไม่ได้อะไรมาก
Life MATTERs : น้องผู้ชายตอนต้นคลิปตัวอย่างหนัง เขาคิดอย่างนั้นเลยจริงๆ ไหม
เต๋อ : ใช่ๆ เขาเป็นลูกของพี่ครรชิต ผู้กำกับที่หับโห้หิ้น เวลาเจอพี่เขาจะคุยถึงลูก เราก็รู้สึกว่าน้องมันดูมีความสนใจมากมาย แล้ววันหนึ่งที่ได้เจอตัวจริงก็ เชี่ย น้องคนนี้แม่งล้ำว่ะ คือไม่ได้คุยอะไรจริงจังนะแต่รู้สึกว่าเด็กมันปราดเปรื่อง ก็ไม่รู้ว่าพี่เขาเลี้ยงมายังไงเหมือนกัน (หัวเราะ)
ตอนที่ชวนมาสัมภาษณ์ก็แรนดอม เราลองดู ปรากฏว่าสัมภาษณ์แล้วยาวเลย แล้วน้องตอบมาแต่ละคำถามนี่คือ สบายแล้ว กูตัดสบายแล้วตอนนี้ (หัวเราะ) น้องอายุสิบกว่าขวบเองมั้ง ต้องลองไปดู เพราะว่าสิ่งที่เห็นในเทรลเลอร์มันไม่มีอยู่ในหนัง ส่วนในหนังมีอีกชุดหนึ่งที่เรารู้สึกแบบ น้องมันอ่านอะไรมาวะ
แล้วสำหรับเรามันไม่ใช่ว่าน้องเขาจำมาพูดด้วยนะ ถามไปถามมาเหมือนเขาเข้าใจจริงๆ คืออาจจะยังเข้าใจไม่หมด แต่มันไม่ใช่การพูดไปอย่างนั้นเพราะไปเห็นมา มันเป็นระบบความคิดเขาเลยอะ ก็คือพี่ครรชิตน่าจะเลี้ยงลูกเก่งมาก ตอนตัดใส่ยังถามซีดี (ผู้ช่วย) อยู่ว่าคนจะคิดว่าสคริปต์รึเปล่านะ น้องพูดเป็นสคริปต์มากเลย
ซึ่งถ้าเกิดมันเป็นสคริปต์ น้องก็น่าจะเป็นนักแสดงเด็กที่ปราดเปรื่องมาก หน้าน้อง ตาน้องจะไปด้วยกันหมด แล้วคือว่าเราไม่มีวันกำกับแบบนั้นได้ เด็กหลอกไม่ได้ การกำกับมันจะมีอยู่จุดหนึ่งที่เรากำกับไม่ได้แล้ว มันต้องใช้ร่างเขา ใช้เซนส์ของเขา ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่เลย แต่เด็กจะคุมยากกว่าเยอะเพราะสมาธิเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน แล้วประสบการณ์เขาจำกัด มันจะไม่รู้หรอกว่าต้องทำยังไง ยกเว้นเขามีเซนส์นั้นอยู่แล้ว
เราก็เลยรู้สึกว่า การเคลื่อนไหวของตาหรือของตัวเขา มันไม่ใช่แอคติ้ง ถึงบอกว่าถ้ามันคือแอคติ้งนี่น้องคือโคตรสุดยอดนักแสดงแล้ว แต่ที่เห็นก็คือน้องเขาเป็นแบบนั้นจริงๆ มันเลยน่าสนใจมาก
เวลาทุกคนถาม บางทีเราก็จะตอบเขาเล่นๆ ว่าหนังเรื่องนี้มันเป็นหนังสืองานศพของเรานิดๆ นะ คือถ้าไปพูดกับแบบนี้กับแม่เราอาจจะโดนแม่ตบนะ แต่ว่าพอเราพูดกันแบบนี้เราก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องอัปมงคลอะไร
Life MATTERs : ถ้าสมมติ Die Tomorrow ก็ไม่เสียดายแล้วใช่ไหม
เต๋อ : (หัวเราะ) เวลาทุกคนถาม บางทีเราก็จะตอบเขาเล่นๆ ว่าหนังเรื่องนี้มันเป็นหนังสืองานศพของเรานิดๆ นะ คือถ้าไปพูดกับแบบนี้กับแม่เราอาจจะโดนแม่ตบนะ แต่ว่าพอเราพูดกันแบบนี้เราก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องอัปมงคลอะไร
เหมือนแต่ก่อนถ้าเราพูดว่าเหมือนทำหนังสืองานศพเลย เพื่อนหรือคนอื่นๆ อาจจะบอกว่า เฮ้ย พูดแบบนี้ได้ยังไง แต่หลังๆ เราก็รู้สึกว่ายังไงมันก็ต้องเกิดสิ่งนี้อยู่ดีเปล่าวะ และเราคิดว่าถ้านี่มันจะเป็นซีนสุดท้ายของเราจริงๆ มันก็คือสิ่งที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้และเราก็ดีใจที่ได้ทำมันก่อนแล้วด้วยซ้ำ
ดีกว่าอยากทำๆ แล้วไม่ได้ทำ เป็น unfinished project ไป ไม่ได้เกิดขึ้น แต่อย่างนี้คือมันเกิดขึ้นแล้ว ได้บันทึกสิ่งที่คิดไว้แล้ว ได้มีนักแสดง ทีมงานที่เราทำด้วยกันอยู่ตรงนี้ คุณจะเอาอะไรจากการทำหนังเรื่องหนึ่งวะ มันได้แล้วอะ
ดังนั้นเรื่องนี้เราไม่กังวลอะไรเลย ไม่ห่วงหรือคาดหวังว่ามันจะถูกใจคนมั้ย เราแค่ทำเสร็จแล้วมากกว่า ก่อนหน้ามันอาจจะมีความกังวลอยู่แล้ว เพราะหนังไม่ได้มีเส้นเรื่อง มันเป็นเหมือนอัลบั้มเพลงที่มีสิบสองเพลง แล้วมันก็จะมีก้อนเล็กๆ ก้อนสัมภาษณ์ ก้อนนู่นนี่นั่นมาประกอบกัน เหมือนเพลงที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ถามว่าเพลงมันต่อกันมั้ยก็ไม่ต่อกัน แต่ว่าถามว่าอยู่ในอัลบั้มเดียวกันมั้ย ใช่
ซึ่งอย่างวิธีนี้เราก็คิดว่าคนจะไหวมั้ยวะ แต่ก็จะรู้สึกว่าช่างมันเถอะ (หัวเราะ) หมายถึงว่าถ้าคุณกังวลเรื่องคนคุณก็จะไม่ทำอะไรแบบนี้ เราก็เลยช่างมันเถอะ ถ้ามันเป็นหนัง independent มันไม่มีอะไรต้องกังวลแล้ว เหมือนเป็นจังหวะที่อยู่ดีๆ มีคนบอกว่าทำเลย ทำอะไรก็ได้! เราก็ไม่ควรจะถามว่าทำอันนั้นได้มั้ย ถ้าทำอะไรก็ได้ก็ทำไปสิ แล้วผลจะเป็นยังไงก็เรียนรู้มัน
ข้อดีอย่างหนึ่งคือเราจะได้เรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วไอ้สิ่งที่เราไม่กล้าทำมันเวิร์กมั้ยวะ บางทีมันอาจจะเวิร์กก็ได้นะ แล้วนี่มันคือโอกาส ถ้าไม่ลองด้วยเรื่องนี้จะไปลองตอนไหน เพราะว่าปีหน้าอาจจะทำอย่างอื่นแล้ว หรือกว่าจะได้ไปหาทุนมาทำอีกก็อีกสามปีข้างหน้าหรือเปล่า
เพราะฉะนั้นถ้ามันมีโอกาส อยากทำอะไรก็ทำ มันก็ไม่ใช่เหตุการณ์ที่หาได้ง่ายเท่าไหร่.
Photos by Adidet Chaiwattanakul