ทุกสถานที่มีความทรงจำ
สถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 หลายจุดอยู่ใจกลาง กทม. เป็นที่ที่คนจำนวนมากสัญจรผ่านไปผ่านมาในชีวิตประจำวัน
วันเวลาอาจทำให้คนลืมเลือน แต่ไม่อาจลบเลือนความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับ 92 ชีวิต* ที่จากไป ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ถึงวันนี้หลายคนก็ยังไม่ได้รับความยุติธรรม แต่มีบางฝ่ายพยายามปิดปากไม่ให้ใครพูดถึง โดยอ้างเรื่องความขัดแย้ง เรื่องความปรองดอง อย่าไปขุดเรื่องราวเก่าๆ มาพูดถึง เราต้องไปต่อ
*ตัวเลขอย่างน้อย
ลำดับเหตุการณ์ปี 2553 โดยสังเขป
- 13 มี.ค. แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง นัดหมายชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยตั้งเวทีปราศรัยที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
- 16 มี.ค. นปช.บุกไปเทเลือดหน้าทำเนียบรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์
- ปลายเดือน มี.ค. เกิดเหตุใช้ระเบิด M79 ข้างระเบิด M67 และลอบวางระเบิด สถานที่สำคัญหลายครั้ง ขณะนั้นรัฐบาลใช้เพียง พ.ร.บ.ความมั่นคง และศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) รับมือ โดยตั้งศูนย์บัญชาการอยู่ที่ค่ายทหาร ร.11 รอ. หรือราบ 11
- 27-28 มี.ค. รัฐบาลและแกนนำ นปช.พยายามเจรจายุติการชุมนุม ที่สถาบันพระปกเกล้า แต่ไม่สำเร็จ
- 3 เม.ย. นปช.ย้ายไปตั้งอีกเวทีที่สี่แยกราชประสงค์
- 7 เม.ย. รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
- 9 เม.ย. ผู้ชุมนุมบุกยึดสถานีดาวเทียมไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี คืนจากทหาร หลัง ศอฉ.มีคำสั่งปิดพีเพิลแชนแนล ที่เป็นทีวีดาวเทียมของคนเสื้อแดง เกิดการกระทบกระทั่งกัน
- 10 เม.ย. ศอฉ.เริ่มปฏิบัติการ ‘ขอคืนพื้นที่’ กับเวที นปช.สะพานผ่านฟ้าฯ อ้างว่าจะเปิดการสัญจรบริเวณถนนราชดำเนิน เกิดการปะทะกัน ชายชุดดำปรากฎตัว มีการใช้อาวุธสงคราม ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากทั้งสองฝ่าย และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน
- 13 เม.ย. นปช.ยุบเวทีผ่านฟ้าฯ เหลือเวทีราชประสงค์เพียงจุดเดียว
- 22 เม.ย. มี M79 ตกลงใส่กลุ่มคนที่คัดค้านการชุมนุมของ นปช. มีแม่ค้าย่านสีลมเสียชีวิต
- 26 เม.ย. ศอฉ.เผยแพร่ผังโครงข่ายขบวนการล้มล้างสถาบัน หรือ ‘ผังล้มเจ้า’ ที่ภายหลังสารภาพว่าไม่ใช่ของจริง
- 28 เม.ย. นปช.ปะทะทหารที่แยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ มีทหารถูกยิงเสียชีวิต (ภายหลังศาลชี้ว่ากระสุนมาจากทหารเอง)
- 29 เม.ย. นปช.บุกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อ้างว่ามีทหารซ่อนอยู่
- ต้นเดือน พ.ค. เกิดเหตุใช้อาวุธสงครามใกล้สวนลุมพินีหลายครั้ง ทำให้มีตำรวจ 2 นายเสียชีวิต
- 13 พ.ค. พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ถูกยิง
- 13-18 พ.ค. เริ่มปฏิบัติการ ‘กระชับวงล้อม’ เกิดเหตุปะทะกันหลายจุด มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
- 19 พ.ค. ทหารพร้อมรถหุ้มเกราะบุกเข้าไปยังเวทีราชประสงค์ตั้งแต่เช้าตรู่ บ่ายโมงครึ่ง แกนนำ นปช.ประกาศยุติการชุมนุม ระหว่างนั้นมีสื่อ ทหาร ประชาชนถูกยิงเสียชีวิต ช่วงหัวค่ำ เกิดเหตุ 6 ศพวัดปทุมวนาราม และมีสถานที่ถูกเผาหลายจุดทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด
ความสูญเสียเกิด ณ จุดใดบ้าง ลองตามมาดูกัน เผื่อวันใดเราผ่านที่นั้นๆ จะได้รำลึกกันไว้ว่า ณ วันหนึ่งที่แห่งนี้เคยมีผู้เสียเลือดเนื้อ จากความขัดแย้ง จากการใช้ความรุนแรง และในบางกรณีก็ยังไม่มีผู้รับผิดชอบต่อความสูญเสียนั้นๆ
สะพานผ่านฟ้า – อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
วันที่ 12 มี.ค.2553 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเ
การชุมนุม นปช.ช่วงแรกๆ จะเป็นการเคลื่อนไหวดาวกระจ
กระทั่งมีการขยายไปตั้งเวที
ส่วนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธ
ถนนดินสอ – โรงเรียนสตรีวิทยา
วันที่ 10 เม.ย.2553 คือจุดเริ่มต้นเหตุการณ์ควา
บริเวณถนนดินสอ ข้างโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นอีกจุดที่เกิดความสูญเส
จากประชาชนที่เสียชีวิตในวั
มีข้อถกเถียงว่า ทหารเริ่มใช้กระสุนจริงเมื่
แต่ก็มีกรณี เกรียงไกร คำน้อย ที่ศาลชี้ว่าถูกยิงด้วยกระส
สี่แยกคอกวัว – ถนนราชดำเนิน
จาก 27 ชีวิตที่จากไปเพราะเหตุการณ
รายงานข่าวระบุว่า ทั้งหมดถูกยิง แต่น่าเสียดายที่ไม่มีรายใด
ในวันที่ 10 เม.ย.2553 ระหว่างทหารพยายามปฏิบัติกา
สี่แยกคอกวัวยังเชื่อมกับถน
ถนนตะนาว
การปรากฎตัวของ ‘ชายชุดดำ’ ณ ถนนตะนาวและจุดอื่นๆ ในวันที่ 10 เม.ย.2553 ทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์และ ศอฉ. ใช้คำว่า ‘ผู้ก่อการร้าย’ หลังจากนั้นอีกหลายครั้ง
ภาพชายชุดดำถูกสื่อบันทึกไว
ชายชุดดำปรากฎตัวเมื่อใด? รายงานของ คอป.อ้างว่า ปรากฎตัวตั้งแต่เวลา 17.30 น. บริเวณถนนตะนาวฝั่งอนุสรณ์ส
ปัจจุบัน มีคนชุดดำถูกดำเนินคดี 5 คน เป็นผู้ชาย 4 คน และผู้หญิงอีก 1 คน ในคดีพกพาอาวุธสงคราม ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้จำคุก ปัจจุบันอยู่ระหว่างฎีกา (คดีหมายเลขดำ อ.4022/2557)
วัดปทุมวนาราม
เมื่อเอ่ยถึงเหตุรุนแรงในปี
ผู้ตายเกือบทั้งหมดถูกทหารบ
รายงานของ คอป.อ้างเหตุว่า มีการยิงปะทะกันระหว่างทหาร
ในปี 2556 ศาลเข้ามาไต่สวนการตายและชี
อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 อัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้อง คดี 6 ศพวัดปทุมฯ อ้างว่าไม่มีพยานหลักฐานว่า
สี่แยกราชประสงค์
แม้สี่แยกราชประสงค์ จุดที่ตั้งเวทีของ นปช.อีกจุด จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่สถานการณ์โดยรอบกลับคับข
รายงานของ ศปช.ระบุว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เสี
ส่วนสุเทพ อดีตผู้อำนวยการ ศอฉ.ให้ข้อมูลกับ ป.ป.ช.ในภายหลังว่า ในช่วงเวลาเดียวกันมีการใช้
ในระหว่างชุมนุมมีความพยายา
แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุมในวันที
สวนลุมพินี
ศอฉ.ประเมินว่า สวนลุมพินีเป็นที่ซ่องสุมขอ
เหตุการณ์ที่หลายคนมองว่าเป
หนังสือลับ ลวง พราง ของวาสนา นาน่วม นักข่าวสายทหาร ที่ถ่ายทอดข้อมูลจากแหล่งข่
รายงานของ คอป.อ้างความเห็นผู้เชี่ยวช
ถนนพระรามสี่ – บ่อนไก่ – สีลม
ถนนพระรามสี่ ตั้งแต่แยกศาลาแดงไปจนถึงชุ
หนึ่งในความตายที่อื้อฉาว คือกรณ๊ชาติชาย ชาเหลา ที่ปรากฎคลิปจากสำนักข่าว AFP ตอนที่เจ้าตัวถูกยิงจนเลือด
ขณะที่บริเวณศาลาแดง มีผู้เสียชีวิต 3 ราย คือ จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์ ทหารอากาศที่เสียชีวิตจากกร
ขอไว้อาลัยแด่ความสูญเสียและขอให้ทุกๆ คนได้รับความยุติธรรมในท้ายที่สุด
Photo by Fasai Sirichanthanun