เราทุกคนล้วนมีความกลัวซ่อนอยู่ภายในจิตใจ และความกลัวนั้นก็มีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่เรื่องที่เคยเผชิญมาไปจนถึงเรื่องที่ปรุงแต่งขึ้น ซึ่งความกลัวที่แตกต่างกันนี้ ก็ถูกแสดงออกผ่านอาการที่แตกต่างกัน จนนำไปสู่โรคทางจิตเวช
แต่ครั้นจะให้บอกว่าตัวเองเป็นโรคอะไรก็ยากเหลือเกิน เพราะโรคทางจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับความกลัวมีเยอะแยะเต็มไปหมด แต่หลักๆ แล้ว โรคที่เราจะได้ยินชื่อกันบ่อยๆ ก็ได้แก่ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรคกลัว (Phobia) และโรคตื่นตระหนก (Panic Disorder) ซึ่งอาการของโรคเหล่านี้มีความคาบเกี่ยวกันจนหลายคนสับสน วันนี้เราจึงชวนทุกคนมาดูความแตกต่างของทั้ง 3 โรคนี้ไปพร้อมๆ กัน เพื่อทำความเข้าใจว่าอาการกลัวในลักษณะนี้ เชื่อมโยงกับโรคทางจิตเวชโรคไหนกันแน่
อาจกล่าวได้ว่า โรคตื่นตระหนกและโรคกลัวเป็นอาการแยกย่อยของโรควิตกกังวล ในขณะที่โรควิตกกังวลและโรคกลัวเกิดขึ้นจากสิ่งกระตุ้น (trigger) บางอย่าง จึงทำให้ภาวะกลัวหรือภาวะวิตกกังวลค่อยๆ เพิ่มระดับมากขึ้นเรื่อยๆ แต่โรคตื่นตระหนกเป็นภาวะวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน โดยตัวผู้ป่วยมักไม่ทราบสาเหตุ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
อย่างไรก็ตาม โรคทั้งสามมีอาการที่คล้ายคลึงกัน และสามารถเชื่อมโยงไปสู่อาการทางจิตเวชอื่นๆ อย่าง ‘ภาวะซึมเศร้า’ ได้ หากใครมีอาการ หรือพบเห็นคนรอบข้างมีอาการในลักษณะนี้ ควรพาไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาโดยด่วน เพื่อเข้ารับการรักษาและการบำบัดก่อนที่จะสายเกินไป
อ้างอิงข้อมูลจาก