เลือกตั้งรอบนี้ พรรคการเมืองต่างๆ ก็มีนโยบายเศรษฐกิจและสวัสดิการมากมาย ประเด็นที่หลายพรรคให้ความสำคัญคือการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์เงินเดือน และผู้ใช้แรงงานที่หาเช้ากินค่ำทั่วประเทศ
The MATTER ขอรวบรวมจุดยืนนโยบายสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้อง ‘โดยตรง’ กับเหล่ามนุษย์เงินเดือนและผู้ใช้แรงงานมาให้ดูกัน
**หมายเหตุ รวบรวมข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม และรวบรวมจากทั้งนโยบายที่พรรคประกาศอย่างเป็นทางการ รวมถึงคำประกาศจุดยืนจากแกนนำคนสำคัญของแต่ละพรรค**
ประชาธิปัตย์
-เพิ่มจำนวนแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
-กําหนดสิทธิลาคลอดแก่มารดาเป็นอย่างน้อย 6 เดือน บิดาหยุดได้ 1 เดือน โดยได้รับเงินชดเชยค่าจ้างจากความร่วมมือระหว่างนายจ้างและสำนักงานประกันสังคม
-ประกันรายได้แรงงาน ปีละ 120,000 บาท
-ขยายสิทธิและสวัสดิการของแรงงานนอกระบบ
-แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย
-ส่งเสริมสิทธิการรวมตัวของลูกจ้าง
-พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
-ส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี
-สนับสนุนถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากต่างชาติ
อนาคตใหม่
-เพิ่มสิทธิลาคลอด 180 วัน
-ขยายสิทธิประกันสังคมให้ถึงแรงงานนอกระบบ
-ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
-เพิ่มค่าล่วงจากค่าแรงปกติเป็น 2 เท่า
-ขยายสิทธิพักร้อน โดยได้ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
-เพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอัตโนมัติตามอัตราเงินเฟ้อ
-สนับสนุนจัดตั้งสภาสวัสดิการและแรงงาน ผลิตทนายความเพื่อทำคดีความให้ผู้ใช้แรงงานฟรี
-ผลักดัน พ.ร.บ.ขึ้นค่าจ้างตามอายุงาน
-ผลักดันให้แรงงานในสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ได้จากเขตที่ทำงาน
เพื่อไทย
-ปรับเงินเดือนปริญญาตรี (ยังไม่ระบุจำนวน)
-ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (ยังไม่ระบุจำนวน)
-ทำงานใกล้บ้าน อยู่บ้านใกล้ที่ทำงาน
-เปิดศูนย์สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่
-ส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพแรงงาน
-เสริมสร้างระบบประกันการว่างงาน
-กองทุนสำหรับคนเปลี่ยนงาน
-ลดภาษีเพิ่มรายได้ประชาชน
-แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคการทำมาหากิน
ภูมิใจไทย
-ทำงานที่บ้าน 1 วันต่อสัปดาห์
-ปฏิรูประบบภาษี ขยายฐานภาษี
-ลดการใช้สำนักงานอาคาร
-1 แขวง 1 Co-Working Space
-สร้าง Co-Working Space บนที่ดินรัฐ
-แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคการทำมาหากิน
พลังประชารัฐ
-ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน
-ปลดหนี้ผู้ใช้แรงงานใน 5 ปี
-พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ปลอดภาษี 2 ปี
-ลดภาษีให้เด็กจบใหม่ 5 ปี
-ฟรีแลนซ์ ฟรีสวัสดิการ
สามัญชน
-ค่าแรงขั้นต่ำ 500 บาทต่อวัน
-แก้กฎหมายให้คนงานแบบเหมาช่วง สามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้
-สนับสนุนสวัสดกิารเด็กและทารก โดยให้พ่อและแม่ลาคลอดได้ 365 วัน ให้พ่อและเพศสภาพอื่น ๆ ลาคลอดได้ด้วยเพื่อช่วยกันเลี้ยงลูก
-สร้างสัดส่วนคณะกรรมการค่าจ้างให้สมดุล
ประชานิยม
ไฮไลท์นโยบายที่น่าสนใจ
-ยกเลิกหักเงินประกันสังคมลูกจ้าง
-ให้นายจ้างจ่ายเงินประกันสังคมแทน
-เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 360 บาท/คน/วัน
อ้างอิงจาก
https://www.khaosod.co.th/election-2019