ไม่ใช่แค่เรื่องของการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ด้วยภาษางงๆ แต่ Coding กำลังจะเป็นพื้นฐานของทุกอย่างในชีวิตอย่างเต็มตัวในอนาคต
มาดูทิศทางของ Coding ในไทยและความเป็นไปในต่างประเทศ ว่าทั่วโลกเขาไปถึงไหน และในไทยเป็นอย่างไรบ้าง
“หลายคนคิดว่าวิชาวิทยาการคำนวณ (Computing Science) เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเทคโนโลยี ทั้งเรื่องฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ แต่จริงๆ แล้ววิชาวิทยาการคำนวณเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อสังคมของพวกเราเช่นเดียวกัน นี่เป็นสิ่งสำคัญที่เราควรจะทำความเข้าใจว่า มันไม่ใช่แค่การเรียนวิชานี้ไปแล้วเราจะสร้างอะไรได้บ้าง แต่เป็นคำถามที่ว่าทำไมคุณควรที่จะสร้างสิ่งนั้นต่างหาก
ยกตัวอย่างเช่น การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่เราสามารถนำมาใช้ประยุกต์กับอะไรได้หลายอย่าง แต่เราควรใช้มันไปกับการคัดเลือกว่าใครสมควรได้เข้ามหาลัยฯ ไหม หรือแม้แต่ถ้าเราใช้มันเพื่อให้คะแนนในการสอบข้อเขียนของนักเรียน นั่นเป็นการใช้มันที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะฉะนั้นการใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ดีอาจจะต้องมาจากการทำงานควบคู่ไปกับระบบปัญาของมนุษย์เราเช่นเดียวกัน”
แพท ยงค์ประดิษฐ์
ผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ของ Code.org
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : Coding ไทยไปถึงไหน ในสายตาผู้เชี่ยวชาญ
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-14/104061
“ในการเรียนสำหรับนักเรียนที่ไม่มีโอกาสสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ พวกเขาจะต้องเสียเปรียบแน่นอน และมันเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย แต่สิ่งที่ดีของการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณคือ คุณสามารถเรียนรู้แนวคิดต่างๆ ของวิชา โดยไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ เราเรียกมันว่า การเรียนโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Computer Science) โดยคุณสามารถใช้ทักษะร่างกาย มาสร้างกิจกรรมที่สนุกสนาน เพื่อถ่ายทอดให้เห็นถึงรูปแบบแนวคิดของวิชาวิทยาการคํานวณ
ยกตัวอย่างเช่น ผมสามารถลองเล่นออกคำสั่งบอกให้คุณวางมือด้วยท่าทางบางอย่างที่ทำให้ดูเหมือนคุณดูเหมือนเป็นหุ่นยนตร์ โดยจากการออกคำสั่งนั้น มันก็สามารถทำให้ผมเรียนรู้เรื่องของการวางตำแหน่งมือที่ถูกต้อง การเรียงลำดับขั้นตอน และการวางแผนในการออกคำสั่ง สิ่งเหล่านี้คือไอเดียที่สำคัญในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ”
แพท ยงค์ประดิษฐ์
ผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ของ Code.org
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : Coding ไทยไปถึงไหน ในสายตาผู้เชี่ยวชาญ
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-14/104061
“มีหลายประเทศทั่วโลกที่นำเอาการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณเป็นส่วนสำคัญในระบบการศึกษาของพวกเขา เพราะเขาเข้าใจดีว่ามันส่งผลกระทบต่อเรื่องของเศรษฐกิจของพวกเขาเช่นเดียวกัน แต่เหตุผลว่าทำไมในช่วงเวลานี้ประเทศไทยเริ่มมีการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ นั่นเป็นเพราะนักเรียนค้นพบว่าการไปโรงเรียนเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ โดยเฉพาะระบบของโรงเรียนที่เน้นเรื่องของการท่องจำ พวกเขาไม่รู้สึกว่ามันเกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขาอีกต่อไปแล้ว เพราะในปัจจุบันทุกอย่างในชีวิตของพวกเขาเต็มไปด้วยเรื่องของดิจิทัล
การเข้าใจโลกดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญ เหมือนกับการที่เราเรียนและต้องทำความเข้าใจวิชาชีววิทยา เพราะร่างกายของเราเต็มไปด้วยระบบชีวภาพ เหมือนกับที่โลกของเราก็คือระบบของชีวภาพ เพราะฉะนั้นเด็กในปัจจุบันควรที่จะเข้าใจว่าโลกดิจิทัลคืออะไร และจะใช้มันในแบบที่เหมาะสมอย่างไร รวมถึงเราจะมีส่วนร่วมอย่างไรในโลกดิจิทัลนี้ ในฐานะเป็นคนที่เริ่มคิดค้นสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่ในฐานะของผู้ใช้คนหนึ่ง”
แพท ยงค์ประดิษฐ์
ผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ของ Code.org
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : Coding ไทยไปถึงไหน ในสายตาผู้เชี่ยวชาญ
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-14/104061