เมื่อเอ่ยถึงคำว่า ‘ความยั่งยืน’ หรือ ‘Sustainability’ คือสิ่งที่ทุกๆ ฝ่าย ไม่ว่ารัฐ เอกชนหรือคนทุกคนกำลังให้ความสำคัญ และเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นด้วยการลงมือทำไปด้วยกันอย่างจริงจัง
แต่ในมุมมองของคนส่วนใหญ่ อาจยังรู้สึกว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เช่น การช่วยกันปลูกป่า แยกขยะ หรือการลดใช้พลังงาน ซึ่งในความจริงแล้ว นั่นเป็นเพียงมิติเดียวของความยั่งยืนเท่านั้น เพราะจากเป้าหมาย SDGs หรือ Sustainable Development Goals ที่ทางสหประชาชาติประกาศออกมา ได้ครอบคลุมไปถึงด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
มาร่วมกันสำรวจว่า แท้จริงแล้ว ความยั่งยืนประกอบไปด้วยมิติไหนอีกบ้าง ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กันได้
นิยามของความยั่งยืน
เหตุผลที่ทำให้ประเด็นสิ่งแวดล้อมถูกนำไปเชื่อมโยงกับความยั่งยืนมากที่สุด คือภาพของวิกฤตพลังงานและภาวะโลกร้อน เป็นสิ่งที่จับต้องได้ ใกล้ตัว สร้างผลกระทบให้กับการใช้ชีวิตของเราและกำลังลุกลามไปยังเศรษฐกิจอย่างชัดเจน จากประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ทำให้ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญตลอดช่วงหลายปีมานี้
คำว่า ‘ความยั่งยืน’ หรือ ‘Sustainability’ จึงได้รับการบรรจุเข้าไปเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ทั่วโลกต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วน เพราะนิยามที่แท้จริงของความยั่งยืน คือการพัฒนามิติต่างๆ ในช่วงเวลาปัจจุบัน โดยไม่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคถัดไป หรือเรียกง่ายๆ คือการกระทำของเราในวันนี้ จะสร้างผลกระทบที่ดีในวันหน้า โดยไม่ตัดวงจรหรือ Cycle ของการใช้ทรัพยากรต่างๆ ออกไป สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้เสมอ รวมไปถึงการวางแผนในทุกๆ กิจกรรมที่ส่งผลกระทบในมิติอื่นๆ เพราะฉะนั้นการสร้างความยั่งยืนจึงมากกว่ามิติของสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการการปลูกป่า แยกขยะ ใช้ถุงผ้า หรือการลดใช้พลังงาน แต่ยังมีด้านอื่นๆ อย่างเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย
เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน
คำถามที่ว่าทำไมการสร้างความยั่งยืน ต้องเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันลงมือทำให้สำเร็จไปด้วยกัน เพราะภาพรวมของการสร้างความยั่งยืน หากลองไปสำรวจ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่ทางสหประชาติประกาศออกมาทั้งหมด 17 ข้อ สามารถแยกออกมาได้เป็นมิติใหญ่ๆ อย่างมิติสังคม เช่น การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งเรื่องการศึกษาและปากท้อง มิติเศรษฐกิจ เช่น การเข้าถึงพลังงานสะอาด การจ้างงานที่เหมาะสม โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และมิติสิ่งแวดล้อม เช่น การปกป้องและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้โดยลำพัง ต้องอาศัยการร่วมมือจากทุกองค์กร และที่สำคัญประชากรทุกคนร่วมลงมือทำไปด้วยกัน ลองจินตนาการถึงสภาพบ้านเมืองที่นอกจากจะมีอากาศที่บริสุทธิ์แล้ว ผู้คนก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ไม่ขาดแคลน โลกของเราจะน่าอยู่ขึ้นมาขนาดไหน
อนาคตของความยั่งยืนที่เราสร้างเองได้
หากมองแบบภาพกว้างๆ ของเป้าหมายด้านความยั่งยืน จะเข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของภาครัฐหรือองค์กรใหญ่ๆ ต้องทำให้สำเร็จ แต่ถ้าหากลองลงลึกในรายละเอียดแล้ว กลับมีสิ่งที่เราทุกคนสามารถลงมือช่วยได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด ‘Progress In Harmony: เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน’ ที่ทางธนาคาร UOB ได้กำหนดกรอบกลยุทธ์สำคัญด้านความยั่งยืน ไปพร้อมๆ กับการลงมือทำของเราทุกคน แม้ว่าจะเป็นหน้าที่คนละส่วน แต่ต่างก็สนับสนุนซึ่งกันและกัน
ด้านสังคม ปัญหาเรื่องการศึกษาและทุพโภชนาการของเด็กขาดโอกาส วิธีง่ายๆ ที่พวกเราสามารถมีส่วนร่วมได้ด้วยการบริจาค หรือการไปเป็นอาสาสมัครเพื่อสนับสนุนเด็กๆ เหล่านี้ได้ ขณะเดียวกันองค์กรใหญ่อย่าง UOB ได้วางแผนแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความเท่าเทียมด้านการศึกษา อย่างเช่นโครงการ UOB My Digital Space ที่สนับสนุนเด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลให้เข้าถึงโอกาสในการเรียนที่เท่าเทียมกับเด็กในเมือง ตั้งแต่อุปกรณ์การเรียนดิจิทัล รวมไปถึงหลักสูตรการเรียนรู้ดิจิทัลวิชาพื้นฐานอย่างอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พร้อมทักษะความรู้ด้านการเงินที่เป็นทักษะชีวิตสำคัญของพวกเราทุกคน หรือการทำงานร่วมกับโครงการ FOOD FOR GOOD เติมเต็มโภชนาการที่ครบถ้วนให้กับเด็กในพื้นที่ห่างไกลบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อเป็นรากฐานที่แข็งแรงในการเรียนรู้และการเติบโต รวมไปถึงอีกหนึ่งด้านที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์ศิลปะ ผ่านโครงการประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อผลักดันให้ศิลปินไทยให้เติบโตในสายอาชีพได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นธนาคารยังสนับสนุนความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในองค์กร ด้วยการสร้างสถานที่ทำงานที่ยอมรับความแตกต่าง และสร้างสภาพแวดล้อมด้วยเครื่องมือที่เอื้อให้พนักงานทุกคนสามารถเติบโตไปด้วยกันได้
ขณะเดียวกันด้านเศรษฐกิจ แม้อาจดูเป็นภาพใหญ่มากๆ แต่หากมองในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว การที่เราสนับสนุนธุรกิจสีเขียวหรือแบรนด์สินค้าที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ด้วยการเลือกใช้บริการ ก็ถือเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ส่วนองค์กรใหญ่อย่าง UOB เองก็ยังสนับสนุนสินเชื่อให้กับธุรกิจสีเขียวและธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน รวมไปถึงการสนับสนุน Supply Chain ของทั้งอุตสาหกรรมด้วยโซลูชันทางการเงินใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ U-Solar, U-Energy และ U-Drive ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการลงทุน รวมไปถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ยั่งยืน โดยยึดหลักเกณฑ์ตามแนวคิด ESG
และด้านที่ชัดเจนที่สุดคือด้านสิ่งแวดล้อม เพียงแค่พวกเราทุกคนเริ่มต้นตั้งแต่กิจวัตรเล็กๆ อย่างเช่นการลดใช้พลาสติกแบบ Single-use การแยกขยะ กินอาหารให้หมด ไม่สร้าง Food Waste และการลดใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน ก็เรียกว่าเป็นการสร้างจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ส่งผลกระทบเชิงบวกที่ยิ่งใหญ่ให้กับโลกในอนาคตได้แล้ว ขณะเดียวกัน UOB ก็ได้ประกาศเป้าหมายไปสู่ Net Zero ที่นอกจากจะสนับสนุนสินเชื่อด้านความยั่งยืนให้แก่ลูกค้าธุรกิจแล้ว ในส่วนของธนาคารเองยังคำนึงและให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของธนาคารเองด้วย อาทิ อาคารออฟฟิศสำนักงานใหญ่ UOB Plaza Bangkok ที่ได้สร้างตามมาตรฐาน Green Building รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับพนักงาน ผ่านกิจกรรมภายในสนุกๆ และการให้ความรู้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย
โดยทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นแล้วว่าความยั่งยืนมีทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพวกเราทุกคนที่ล้วนเป็นสมาชิกของโลกใบนี้ สามารถช่วยกันทำได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องใหญ่ หากแต่เป็นเรื่องเล็กที่สามารถเริ่มได้ที่ตัวเรา ขอเพียงแต่เริ่มต้นวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีสำหรับคนรุ่นต่อไป
ดังเช่นธนาคาร UOB ที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อลูกค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสมดุลในการเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบ เพราะเชื่อว่ามนุษย์และโลกสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกันได้