นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊กขึ้นมา เคยนับกันไหมว่าเรามี ‘เพื่อน’ เพิ่มมากขึ้นกี่คน เชื่อว่าแค่ในเฟรนด์ลิสต์ของแทบทุกคนต้องมีหลักร้อยเป็นอย่างต่ำ แต่ในบรรดาเพื่อนหลักร้อยเหล่านั้น มีเพื่อนที่เราสนิทสนมจริงๆ สักกี่คน ปริมาณของเพื่อนในโซเชียลฯ จึงไม่ได้หมายถึงคุณภาพของมิตรภาพที่เพิ่มมากขึ้นตามแต่อย่างใด
เรื่องของการคบเพื่อนในยุคสมัยนี้ จึงอดที่จะนำไปเปรียบเทียบกับเรื่องการลงทุนใน ‘กองทุนLTF’ ไม่ได้ ที่ทุกวันนี้มีให้เลือกมากมายหลายกองทุนเหลือเกิน แต่อย่างว่า ยิ่งมีมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก เพราะการลงทุนที่เรารู้จักมันเพียงแค่ผิวเผิน แต่บังเอิญไปตกลงปลงใจตีซี้ตีสนิท ก็อาจพบกับความชอกช้ำของมิตรภาพปลอมๆ ได้นั่นเองเพราะไม่มีการลงทุนที่ดีที่สุด มีแต่การลงทุนที่เหมาะกับเราที่สุด เหมือนกับการเลือกคบเพื่อนที่มีหลากหลายประเภท ไม่มีเพื่อนที่ดีที่สุด มีแต่เพื่อนที่เข้ากับเราได้ดีที่สุด
ในความสัมพันธ์อันมากมายและซับซ้อนของทั้งเพื่อนในโซเชี่ยลฯ และการลงทุนใน LTF จะมีหนทางไหนที่ช่วยให้เราเลือกผูกมิตรภาพในโลกออนไลน์และลงทุนในกองทุนได้อย่างถูกต้องบ้าง เพราะการลงทุนถูกที่ก็เหมือนกับการเลือกคบเพื่อนถูกคน
ส่องโปรไฟล์เบื้องต้น ทำความรู้จักว่าเราเข้ากันได้ไหม
ปัจจัยแรกๆ ของการคบเพื่อนสักคนคือการทำความรู้จักเบื้องต้นผ่านโปรไฟล์คร่าวๆ ว่าเป็นคนนิสัยแบบไหน มีรสนิยมอย่างไร ชอบอะไรเหมือนๆ กันไหม ยิ่งยุคสมัยนี้ทุกคนต่างมีหน้าโปรไฟล์ในโซเชียลฯ ที่เปิดเผยตั้งแต่หน้าตา สถานศึกษา ที่ทำงาน ไปจนถึงแคปชันสั้นๆ ที่อธิบายถึงตัวตน ซึ่งบางทีแค่ฟิลเตอร์หรือสไตล์ในการเลือกภาพโปรไฟล์ที่ใช้ก็สามารถบ่งบอกถึงรสนิยมแบบเบื้องต้นได้แล้ว เพราะยิ่งตัวตนหรือจริตใกล้เคียงกับเรามากเท่าไร ก็น่าจะยิ่งหมายถึงการเข้ากันได้ของเรากับเพื่อนในโซเชียลฯ นั่นเอง
ไม่ต่างอะไรกับการพิจารณากองทุนสักกอง ที่ต้องเริ่มต้นดูตั้งแต่นโยบายในการลงทุนทั้งหลักและรองในหนังสือชี้ชวน ว่ากองทุนนั่นนำเงินของเราไปลงทุนในสินทรัพย์ไหน ทั้งตราสารเงิน ตราสารหนี้ ตราสารทุน อสังหาฯ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือผสมๆ กัน พอบอกแบบนี้ถ้ายังไม่รู้ว่าสินทรัพย์ต่างๆ คืออะไร ก็พิจารณาขั้นต้นได้เลยว่ากองทุนนั้นไม่เหมาะกับเราแน่นอน หรือถ้าไม่รู้ก็ต้องศึกษาให้รู้ก่อน เพราะการลงทุนปัจจัยสำคัญคือการเข้าใจในสิ่งที่ลงทุน เพื่อจะได้ประเมินได้ว่าสภาพตลาดเป็นอย่างไร แล้วเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน กองทุนนั้นๆ ถึงจะเหมาะกับเราจริงๆก็เหมือนกับการเลือกคบเพื่อนที่เราต้องทำความรู้จักเป็นอย่างดีก่อน
ตามฟีดแล้วค่อยแอด ถูกใจแล้วค่อยเลือก
เมื่อสำรวจโปรไฟล์แล้ว สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาต่อมาคือฟีดส่วนตัวของเพื่อนคนนั้น ว่าวันๆ เขาโพสต์อะไรบ้าง บ่นมากบ่นน้อย หรือชอบแชร์อะไรที่ประโยชน์หรือไร้สาระให้กับเรา เพราะอย่างที่รู้ๆ กันว่าอัลกอริทึมของเฟซบุ๊กทุกวันนี้จะชอบฟีดคอนเทนต์หลักๆ ที่มาจากเพื่อนของเราเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าเฟรนด์ลิสต์ของเราวันๆ เอาแต่โพสต์บ่นนั่นนี่ก็พานแต่จะทำให้เราเสียสุขภาพจิตตามไปด้วย เพราะจากข้อมูลของ GlobalWebIndex ที่สำรวจเมื่อปีที่แล้ว พบว่าวันๆ หนึ่งเราใช้เวลาไปกับโซเชียลฯ ถึงวันละ 2 ชั่วโมงบวกๆแถมยังมีรายงานอีกว่า ยิ่งมีแอคเคานต์เพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เราต้อง engage และใช้เวลากับมันมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราจะปล่อยเวลาอันไร้คุณภาพไปกับฟีดไร้คุณภาพอย่างนั้นเหรอ
การลงทุนในกองทุนก็ต้องดูพอร์ตการลงทุนว่าแบ่งสรรปันส่วนไปให้กับสินทรัพย์อะไรเป็นพิเศษ แล้วแนวโน้มของสินทรัพย์นั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น ถ้าเน้นตราสารทุนก็ต้องดูคุณภาพของหุ้น แนวโน้มการเติบโตของหุ้นตัวนั้นๆ หรือถ้าเน้นอสังหาฯ ก็ต้องดูถึงโอกาสในการขึ้นค่าเช่า และที่สำคัญคือการดูผลตอบแทนย้อนหลังอย่างน้อยๆ สัก 5 ปีว่าโอเคไหม ซึ่งสะท้อนถึงการบริหารผู้จัดการกองทุนว่ามีคุณภาพมากน้อยขนาดไหน ยิ่งทุกวันนี้ข้อดีของโลกอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ยิ่งช่วยในการเปรียบเทียบและตรวจสอบความเสมอต้นเสมอปลายของกองทุน ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันได้ง่ายๆก็เหมือนกับการต้องตรวจสอบฟีดคุณภาพของเพื่อนเราในโซเชียลฯ ไม่มีผิด
มิตรภาพเกิดแล้ว ก็รักษามันไว้ให้นานๆ
จากผลวิจัยของ Robin Dunbar ศาสตราจารย์จากสาขาจิตวิทยาการทดลอง แห่งมหาวิทยาลัย Oxford อธิบายไว้ว่า มนุษย์เราหนึ่งคนสามารถมีเพื่อนได้สูงสุดเพียงแค่ 150 คนเท่านั้น แถมรวมสมาชิกในครอบครัวเข้าไปแล้วด้วย โดยความสัมพันธ์ที่ว่าเป็นความสัมพันธ์ที่เราสามารถจัดการและมีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างใกล้ชิด ไม่ใช่การรู้จักกันแบบผิวเผิน ซึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดของสมองส่วน neocortex ที่สามารถจัดการดูแลมิตรภาพได้เพียงเท่านั้น จำนวนเพื่อนที่มากมายในโซเชียลฯ จึงไม่ใช่สิ่งที่วัดผลความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพแต่อย่างใด ฉะนั้นเมื่อเราใช้หลักเกณฑ์ข้างต้นมาพิจารณาจนรู้แล้วว่าเพื่อนคนไหนที่ดีต่อใจและความสัมพันธ์จริงๆก็ขอให้จงรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ให้นานๆ
การเลือกซื้อกองทุนดีๆ ก็เช่นกัน เพราะเราต้องถือไปอย่างน้อยๆ ถึง 7 ปีปฏิทินในทุกสภาวะเศรษฐกิจ เมื่อรู้แล้วว่ากองทุนนั้นๆ ให้ทั้งผลตอบแทนที่ดี ให้ทั้งการลดหย่อนภาษี และช่วยทำให้เราบริหารเงินได้เป็นอย่างดี ก็ไม่จำเป็นต้องรีบขายคืนหน่วยลงทุนทันทีเมื่อครบกำหนด แต่ให้รักษามิตรภาพระหว่างเรากับกองทุนนั้นไปแบบยาวๆ แต่ขณะเดียวกันระยะเวลากว่า 7 ปีปฏิทินหรือเวลาจริงราว 5 ปีเศษๆที่ต้องถือกองทุนนั้นๆ ไว้ก็เป็นเวลานานไม่น้อย ถ้าเลือกผิดก็อาจจะชอกช้ำกับการขาดทุนก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นต้องใส่ใจในการเลือกเป็นพิเศษ
ในเมื่อการเลือกกองทุน LTF นั้น แสนยากลำบากไม่ต่างอะไรกับการเลือกคบเพื่อนในโซเชียลฯ ขนาดนี้ อยากแนะนำให้ลองทำความรู้จักกับกองทุนของ UOBAM อย่าง UOBLTF ที่เน้นลงทุนตราสารทุนในกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูง โดยคัดเลือกหลักทรัพย์ที่มีนโยบายการจ่ายปันผล และมีการบริหารที่โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล และที่สำคัญคือราคาตลาดอยู่ต่ำกว่ามูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว หรือจะเป็น CG-LTF ที่มุ่งเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนที่มีระบบธรรมาภิบาลที่ดี รวมถึงมีปัจจัยพื้นฐานผลประกอบการดีและมีแนวโน้มการเจริญเติบโตในอัตราสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ การเลือกซื้อทั้งสองกองทุนนี้ก็เหมือนกับการได้คบเพื่อนดีๆ ที่การันตีด้วยผลงานย้อนหลังที่ดีที่สุด แถมยังซื้อง่ายขายสะดวก ผ่านแอปพลิเคชัน UOBAM Invest ได้อีกด้วย
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่
https://www.uobam.co.th/th/mutual-fund/00052/UOBLTF
https://www.uobam.co.th/th/mutual-fund/90034/CG-LTF
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.healthline.com/health/how-social-media-is-ruining-relationships#3
https://blog.globalwebindex.com/chart-of-the-day/daily-time-spent-on-social-networks/