ชีวิตที่ได้ห่างไกลจากความเป็นเมือง อาศัยในบ้านดิน ปลูกผักกินกลางเขา ชีวิตที่ได้ท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์ หรือชีวิตที่เพียงคิดบวกก็มีความสุขแล้ว
อย่างที่ไลฟ์โค้ชทั้งหลายบอกว่ามันคือชีวิตที่มีความสุขและทำได้ไม่ยากเลยนั้น มันช่างห่างไกลจากชีวิตมนุษย์เงินเดือนหรือนักศึกษาผู้วิ่งตามความฝันที่คุณเป็นอยู่ตอนนี้เสียเหลือเกิน
แม้จะลองพยายามใช้ชีวิตแบบนั้นบ้าง คุณก็พบว่ามันยาก และไม่เห็นทีท่าว่าจะมีความสุขเหมือนกับเวลาที่ได้ดูหนังเรื่องใหม่ล่าสุดในโรงภาพยนตร์ ลองเสื้อผ้าคอลเลกชั่นใหม่ ฟังเพลงแจ๊ซในบาร์ใจกลางเมือง นั่งเล่นในสวนสาธารณะหรือแม้แต่การได้พูดคุยทำความเข้าใจกับตัวเองในห้องเงียบๆ อย่างที่เคยทำเป็นประจำ
ทำไมความสุขในแบบของคนอื่นกับแบบของเราจึงต่างกัน?
เพราะพันธุกรรม
ในวิชาจิตวิทยาพื้นฐานนั้นมีแนวคิดที่มักถูกยกอ้างให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แต่ละคนมีลักษณะนิสัย หรือวิถีในการใช้ชีวิตต่างกัน แนวคิดนั้นคือ ‘Big Five Personality Traits’ หรือ ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 ประการ ประกอบไปด้วย Extraversion (ความสนใจต่อสิ่งภายนอก) agreeableness (ความยินยอมเห็นใจ) Conscientiousness (ความพิถีพิถัน) Neuroticism (ความไม่เสถียรทางอารมณ์) และ Openness to Experience (ความเปิดรับประสบการณ์) โดยจากงานวิจัยพบว่าที่มาที่ไปของลักษณะนิสัยทั้ง 5 นั้น กว่า 50% มาจากพันธุกรรมที่ถูกส่งตรงจาก DNA ของพ่อและแม่ 40% มาจากความพยายามส่วนบุคคล และ 10% มาจากสภาพแวดล้อม
และด้วยเหตุผลที่ว่าแต่ละคนมีลักษณะนิสัย 5 ประการนี้มากน้อยต่างกัน จึงทำให้ทุกคนมีความสุขหรือรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต่างกันด้วย เช่นคนที่มีค่า Extraversion ที่สูงก็จะชื่นชอบการได้เข้าสังคมและพบปะผู้คน ในขณะที่บางคนซึ่งมีค่าที่ว่านั้นต่ำก็มักจะพึงพอใจกับการครุ่นคิดอยู่ในความคิดของตัวเอง
เพราะยุคสมัย
เราอาจจะเคยได้ยินคำพูดทำนองว่า “คน Gen-X ชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ เป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง มีความคิดสร้างสรรค์” “คน Gen Y มักจะพยายามรักษาสมดุลของชีวิต ให้ความสำคัญกับการจัดสรรเวลาทั้งการงานและชีวิตส่วนตัว” “คน Gen Z มีความครีเอทีฟสูง รู้จักตัวตนของตัวเอง ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จะเลือกสิ่งที่คิดว่าเหมาะกับตัวเองเท่านั้น” ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างคนแต่ละเจนนั้น ก็มาจากหลายสาเหตุเช่นลักษณะสภาพสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี รวมถึงเหตุผลส่วนตัวในการใช้ชีวิตที่เข้ามามีบทบาท ณ ช่วงเวลานั้นๆ
แม้ว่าแนวคิดการจัดแบ่งผู้คนตามเจเนอเรชั่นนั้นมักจะถูกใช้ในแวดวงนักการตลาดที่ต้องการทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะเพื่อสร้างบริการหรือสินค้าที่ตอบสนองคนกลุ่มนั้นๆ แต่ในแง่หนึ่งก็สามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าช่วงเวลาที่เกิดนั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้แต่ละคนมีเหตุผลในการตัดสินใจเลือกเส้นทางชีวิตที่ต่างกัน
เพราะฐานะ
ถึงจะไม่ได้สร้างความสุขให้โดยตรง แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘เงิน’ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต และเป็นกุญแจเพื่อไขไปสู่โอกาสหรือประสบการณ์ที่ดีต่างๆ รวมทั้งเป็นต้นทุนสำหรับการใช้ชีวิต ‘ง่ายๆ’ อย่างที่กล่าวไปตอนต้น
เอาเข้าจริงแล้วการย้ายชีวิตออกไปอยู่ต่างจังหวัด ปลูกพืชผักเพื่อกินเองและขายส่วนต่างเพื่อเลี้ยงชีพนั้น ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการแบกรับต้นทุนสำหรับการเริ่มต้น ไหนจะค่าที่ดิน ไหนจะค่าเมล็ดพันธุ์ ไหนจะค่าเวลาสำหรับการรอคอยผลลัพธ์ ยังไม่นับว่าต้องเสี่ยงกับโอกาสที่จะล้มเหลวเพราะขาดทักษะอีกด้วย
สำหรับคนที่มีต้นทุนชีวิตที่ค่อนข้างพร้อม ก็นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ทดลองใช้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านี่จะเป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับความสุข เพราะก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ใช้ชีวิตเช่นนั้นอยู่แล้ว หากก็ยังพยายามทุ่มเทแรงกายเพื่อเข้ามาตามความฝันในเมืองหลวง และก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ใช้ชีวิตบนเหตุผลของตัวเองอย่างมีความสุขในแบบฉบับของคนเมือง
เพราะความใฝ่ฝัน
ความใฝ่ฝันของทุกคนล้วนมีข้อจำกัดเฉพาะตัวที่แต่ละคนต้องเผชิญ เช่น คณะที่มีวิชาซึ่งตอบโจทย์เส้นทางชีวิตของคุณดันมีแค่ที่มหาวิทยาลัยนี้แห่งเดียว คุณจึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะได้เข้าเรียนที่นี่ บางคนอาจจะมีบริษัทหรืองานในฝันที่อยากเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จเหล่านั้นสักครั้งในชีวิต แม้จะมีบริษัทหรืองานอื่นใดที่สร้างรายได้มากกว่าก็ไม่อาจทดแทนได้ หรือแม้กระทั่งบางคนใฝ่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ด้วยต้นทุนที่อาจจะยังไม่พร้อม จึงเลือกที่จะซื้อคอนโดก่อนในขั้นแรก
ความใฝ่ฝันเหล่านี้แม้จะผูกติดอยู่กับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แม้จะฟังดูเหนื่อยเพราะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจทั้งหมดที่มี แต่คุณก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ามันมีความหมายมากเกินกว่าจะแลกไปกับการใช้ชีวิตง่ายๆ ในแบบของคนอื่น
เมื่อลักษณะนิสัย ความชื่นชอบ ปัจจัย และความใฝ่ฝันในชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกัน ชีวิตง่ายๆ ที่มีความสุขจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว และยากเกินกว่าจะเดินตามเส้นทางชีวิตของใครๆ อย่างที่ Grand Unity หนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาฯ คอนโด เชื่อว่าทุกคนควรเป็นคนได้เลือกใช้ชีวิตและมีความสุขในแบบของตัวเองได้โดยไม่เดือดร้อนใคร จึงเกิดเป็นคอนโดที่อยู่อาศัย 4 โครงการใหม่ ที่ยึดทำเลติดสถานีรถไฟฟ้า ใกล้มหาวิทยาลัย แหล่งทำงาน และชุมชน ลดช่องว่างเวลาในการเดินทางและเพิ่มความคล่องตัวให้กับการใช้ชีวิตแบบคนเมือง
พื้นที่อยู่อาศัยนั้นก็ผ่านการออกแบบอย่างใส่ใจด้วยดีไซน์ที่เรียบง่าย แต่เน้นความสะดวกสบายที่พร้อมตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในทุกรูปแบบ มอบความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยด้วยกระจกนิรภัยในทุกห้องของโครงการ และระเบียงที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้จริง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจุดหมายเดียวคือการเปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้ชีวิตบนเหตุผลของตัวเองได้อย่างใจคิด เพราะชีวิตที่เราเป็นคนกำหนดเอง คือชีวิตที่ Make sense
ดูรายละเอียดของโครงการได้ที่ http://www.grandunity.co.th/webpage/
ที่มา
Sonja Lyubomirsky—The How of Happiness: A Scientific Approach to Getting the Life You Want