สิบวัน (1-10 พ.ค.2564) นับแต่เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนในแอพฯ ‘หมอพร้อม’ สำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 60 ปีขึ้นไป 11.7 ล้านคน และคนเป็นโรคประจำตัว 7 โรคเรื้อรังอีก 4.3 ล้านคน รวมทั้งหมด 16 ล้านคน พบว่ามีคนมาลงทะเบียนจองคิวเพียง 1.64 ล้านคน หรือคิดเป็นหนึ่งในสิบเท่านั้น
.
ที่ผ่านมา การจัดหาวัคซีน COVID-19 ของภาครัฐไทย ถูกวิจารณ์ว่าล่าช้า และไม่กระจายความเสี่ยง (“แทงม้าตัวเดียว”) โดยปัจจุบันมีวัคซีนเข้ามาให้ฉีด ส่วนใหญ่คือ Sinovac ส่วน AstraZeneca จะเริ่มส่งมอบล็อตใหญ่ในเดือน มิ.ย. ด้าน Pfizer ที่ตกลงกันแล้ว กว่าจะส่งมอบก็ไตรมาสสามหรือสี่ ด้าน Sputnik V ก็ยังไม่ชัดเจนทั้งเรื่องจำนวนและเวลาส่งมอบ และ Moderna ก็ให้ รพ.เอกชนไปจัดหามากันเอง
.
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเริ่มมีแคมเปญว่า วัคซีนไม่ว่ายี่ห้อใด ประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด “ฉีดดีกว่าไม่ฉีด”
.
The MATTER อยากรู้ว่า คนไทยคิดเห็นอย่างไรกับวัคซีนอย่างน้อย 5 แบรนด์ที่คนไทยน่าจะมีโอกาสได้ฉีด จึงใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย ชื่อ ZOCIAL EYE ของไวซ์ไซท์ รวบรวมข้อมูลสิ่งที่คนไทยพูดถึงวัคซีนแบรนด์ต่างๆ ในโลกออนไลน์ แล้วนำมาวิเคราะห์ในเบื้องต้น พบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
.
จำนวนข้อความที่พูดถึงวัคซีน COVID-19 ระหว่าง 1-10 พ.ค.2564 (เฉพาะที่ตั้งค่าการมองเห็นเป็นสาธารณะ) มีทั้งสิ้น 7.2 หมื่นข้อความ จากผู้คน/องค์กรที่แตกต่างกัน 1.4 หมื่นแอคเคาน์ โดยมียอดเอ็นเกจเม้นต์ หรือปฏิสัมพันธ์จากผู้คน ไม่ว่าในรูปแบบการไลก์ แชร์ หรือคอมเม้นต์ รวมกันกว่า 15 ล้านครั้ง!
.
อย่างไรก็ตาม ข้อความที่พูดถึงวัคซีน COVID-19 โดยระบุถึง 5 แบรนด์ที่คนไทยน่าจะมีโอกาสได้ฉีด ได้แก่ Sinovac, AstraZeneca, Pfizer, Sputnik V และ Moderna มีรวมกัน 17,358 ข้อความ และมีลักษณะการพูดถึงที่แตกต่างกัน
.
- Pfizer ถูกพูดถึง 6,301 ข้อความ คิดเป็น 36.3%
- Sinovac ถูกพูดถึง 5,820 ข้อความ คิดเป็น 33.5%
- Moderna ถูกพูดถึง 2,525 ข้อความ คิดเป็น 14.6%
- AstraZeneca ถูกพูดถึง 1,793 ข้อความ คิดเป็น 10.3%
- Sputnik V ถูกพูดถึง 919 ข้อความ คิดเป็น 5.3%
.
ข้อสังเกตเรื่องการพูดถึงแบรนด์วัคซีน COVID-19 มีดังนี้
– Pfizer เหตุที่ถูกพูดถึงมาก น่าจะเพราะทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาเปิดเผยว่า มีการนำเข้ามาใช้ในไทยแล้วจำนวนหนึ่ง (4 พ.ค.2564) แม้ต่อมาทาง Pfizer จะปฏิเสธว่า ยังไม่มีนโยบายจัดจำหน่ายในไทย และจะเจรจากับรัฐบาลก่อน จากนั้นก็มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า Pfizer เข้ามาจริง แต่ใช้กับคนในสถานทูตสหรัฐฯ เท่านั้น ขณะที่อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข ได้ดีลกับ Pfizer ให้นำวัคซีนมาฉีดในไทยสำเร็จ 10-20 ล้านโดส ในไตรมาสที่สามหรือสี่ของปีนี้ (7 พ.ค.2564)
– ข้อความต่างๆ ที่พูดถึง Pfizer มักไปในทางที่ดี ทั้งเรื่องประสิทธิภาพสูงถึง 95% และช่วยป้องกัน COVID-19 สายพันธุ์บราซิลได้ อยากฉีดวัคซีนแบรนด์นี้ แต่ก็มีคนท้วงว่า Pfizer ซึ่งใช้เทคโนโลยี mRNA อาจไม่เหมาะกับคนที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง (anaphylaxis) จากสารก่อการแพ้บางชนิด เพราะอาจไปกระตุ้นภูมิได้ แต่ก็มีคนมาแชร์ประสบการณ์ เป็นคนที่มีอาการแพ้ ได้ฉีด Pfizer ครบ 2 โดส ไม่มีปัญหาอะไร
ตัวอย่าง
https://twitter.com/ASCALON_dnity/status/1389254693596004353
https://twitter.com/mimssi/status/1389481962021167105/photo/1
.
– สำหรับ Sinovac ซึ่งเป็นวัคซีน 97% ของที่ไทยมีอยู่ตอนนี้ 4.617 ล้านโดส (ข้อมูล ณ 11 พ.ค.2564) พบว่าความเห็นจำนวนมากไปในเชิงลบ เช่นอ้างถึงข้อมูลบุคลากรการแพทย์ไปฉีดที่ รพ.สงขลาแล้วมีปัญหา แต่ก็มีความพยายามแชร์ข้อมูลอีกด้าน โดยเฉพาะการภาครัฐ เช่น ความเห็นของ นพ.ยง ภู่วรวรรณว่าวัคซีนแบรนด์นี้มีประสิทธิภาพดี หรือเพจของศูนย์ข้อมูลโควิดก็อ้างว่า WHO ประเมินแล้วว่า ปลอดภัย ฉีดได้
ตัวอย่าง
https://www.facebook.com/thaimoph/photos/a.117672836509295/304151137861463/
https://www.facebook.com/106036604348006/posts/321142829504048
.
– Moderna ความเห็นจำนวนไม่น้อย จะมองคล้ายๆ กับ Pfizer คือมีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยกว่าวัคซีนที่รัฐบาลไทยไปหามา โดย อย.เองก็บอกว่า กำลังขึ้นทะเบียนให้ใช้ในไทยอยู่ คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนนี้ (3 พ.ค.2564) ทั้งนี้ รพ.เอกชนไทยจะนำวัคซีนแบรนด์นี้มาให้บริการ โดยคิดค่าฉีด 2 เข็ม 3,000 บาท ซึ่งก็มีคนถามว่า เหตุใดรัฐถึงไม่ซื้อมาฉีดฟรีให้ประชาชน กลับต้องไปเสียเงินกันเอง
ตัวอย่าง
https://twitter.com/KpSugus/status/1389248084576669699
https://www.facebook.com/onenews31/photos/a.1122306951191112/4252560614832381/
.
.
– AstraZeneca ข้อความจำนวนมากที่พูดถึงมาจากฝั่งรัฐ เนื่องจากเริ่มต้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย คือมีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือมี 7 โรคประจำตัวเรื้อรัง จำนวน 16 ล้านคน มาจองคิวฉีดผ่านแอพฯ ‘หมอพร้อม’ (เริ่ม 1 พ.ค.2564) ขณะที่ บริษัท Siam Bioscience ผู้ผลิตวัคซีนนี้ของไทย ก็ประกาศว่าพร้อมส่งม็อบล็อตใหญ่ ในเดือน มิ.ย.2564
แต่ถ้าไปดูคอมเม้นต์ตามเพจทางการและเพจข่าวต่างๆ จะพบว่า หลายคนสงสัยในประสิทธิภาพของวัคซีนนี้ บางคนบอกว่าให้คนอื่นฉีดไปก่อน
ตัวอย่าง
https://www.facebook.com/thaimoph/photos/a.117672836509295/299211331688777/
.
– Sputnik V ถูกพูดถึงไม่มากนัก นอกจากกรณีที่รัสเซียพัฒนาเป็นวัคซีน COVID-19 แบบฉีดเข็มเดียวได้ ให้ชื่อว่า ‘สปุตนิก ไลต์’ ราคาโดสละ 300 บาท (7 พ.ค.2564) หลายคอมเม้นต์ใต้ข่าวนี้ เสนอว่าอยากให้รัฐนำเข้ามาให้เป็นวัคซีนทางเลือก ขณะที่ผู้แทนของ Sputnik V ในไทย ก็บอกว่าอยู่ระหว่างรอ อย.ขึ้นทะเบียนอยู่ (6 พ.ค.2564)
ตัวอย่าง
https://www.facebook.com/tubtohkao34/posts/2083319451822322
https://www.instagram.com/p/COkUJVMr08t/
.
นี่คือฟีดแบ็กของคนไทยในโลกออนไลน์ ต่อวัคซีน COVID-19 แบรนด์หลักๆ ที่คาดว่าจะถูกนำเข้ามาใช้กับคนไทย ไม่ว่าจะโดยภาครัฐหรือภาคเอกชน
#โควิด #วัคซีน #TheMATTER