เฮนรี คิสซิงเจอร์ ผู้สร้างเสถียรถภาพทางการทูต ที่มีบทบาทในฐานะที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติและรัฐมนตรีต่างประเทศ ภายใต้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึงสองคน ซึ่งเขาถือเป็นบุคคลสำคัญต่อการคิดค้นนโยบายต่างประเทศในช่วงสงครามเย็น จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งเขาเสียชีวิตขณะอายุ 100 ปีพอดี
เกริ่นก่อนว่า ไฮนซ์ อัลเฟรด คิสซิงเกอร์ (Heinz Alfred Kissinger) หรือ เฮนรี คิสซิงเจอร์ (Henry Kissinger) เกิดที่เมืองเฟอร์ธ ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 1923 แต่เขาย้ายไปอยู่สหรัฐฯ พร้อมกับครอบครัวในปี 1938 ก่อนที่จะเกิดนโยบายกําจัดชาวยิวในยุโรปของนาซีเยอรมัน
เมื่อวันพุธ (30 พฤศจิกายน) ตามเวลาท้องถิ่น คิสซิงเจอร์ ผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองโลก ถูกพบเสียชีวิตที่บ้านของเขาในคอนเนตทิคัต สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาคิสซิงเจอร์มีผลงานมากมายในด้านการเมือง ทั้งการทำงานในทําเนียบขาว ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับความเป็นผู้นํา และเขายังเป็นพยานต่อหน้าคณะกรรมการวุฒิสภาเกี่ยวกับภัยคุกคามนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนืออีกด้วย
โดยผลงานล่าสุดก่อนที่เขาจะเสียชีวิตคือ การไปเยือนประเทศจีนเพื่อพบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (Xi Jinping) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ทว่าเราจะขอเล่าย้อนไปถึงช่วงที่เขามีบทบาทสำคัญในด้านการเมือง จนทำให้เขากลายเป็นที่จดจำจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงปี 1970 ท่ามกลางสงครามเย็น คิสซิงเจอร์ได้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ระดับโลกที่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ด้วยการทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติและรัฐมนตรีต่างประเทศภายใต้อำนาจของริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน
ผลงานเด่นๆ ของเขา ได้แก่ การเปิดทางการทูตระหว่างสหรัฐฯ และจีน การเจรจาควบคุมอาวุธระหว่างสหรัฐฯ-โซเวียต การขยายความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับประเทศเพื่อนบ้านอาหรับ และการเกิดขึ้นของสนธิสัญญาสันติภาพปารีส (Paris Peace Accords) กับเวียดนามเหนือ หลังจากหมดยุคสมัยของปธน.นิกสัน เขาก็ยังคงเป็นกองกําลังสำคัญทางการทูตในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศภายใต้ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Ford)
ทั้งนี้ ในขณะที่หลายคนยกย่องคิสซิงเจอร์ในความฉลาดหลักแหลมและประสบการณ์ที่ท่วมท้น แต่ก็มีคนอีกจำหนึ่งตราหน้าเขาว่าเป็น ‘อาชญากรสงคราม’ เนื่องจากนโยบายที่สนับสนุนเผด็จการ เพื่อต่อต้านอิทธิพลคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในประเทศแถบลาตินอเมริกา จนการได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของเขา เมื่อปี 1973 กลายเป็นหนึ่งในข้อถกเถียงทีมีการพูดถึงมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
อ้างอิงจ