งานวิจัยชิ้นล่าสุดบอกเราว่า การใช้โซเชียลมีเดียเชื่อมโยงกับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี และฝันร้าย
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการเชื่อมโยงการใช้โซเชียลมีเดียของวัยรุ่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต และเป็นการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบทางจิตวิทยาเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นกับคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งการใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง TikTok, Instagram และ Facebook มีผลลัพธ์การศึกษาที่น่ากังวลเช่น ภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้น ความเหงาและโดดเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ตและการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น
เรซ่า ชาบาฮาง (Reza Shabahang) หัวหน้าคณะผู้จัดทำการศึกษา กล่าวว่า เมื่อโซเชียลมีเดียเข้ามาเกี่ยวพันกับชีวิตของเรามากขึ้น ผลกระทบของโซเชียลมีเดียอาจส่งผลต่อความฝันของเราด้วย เนื่องจากเราพบว่าผู้ที่ใช้เวลากับแพลตฟอร์มเหล่านี้มากขึ้น มีแนวโน้มที่จะฝันร้ายมากกว่า
ด้าน เชลบี แฮร์ริส (Shelby Harris) นักจิตวิทยาคลินิกและนักประสาทวิทยาจาก Albert Einstein College of Medicine ในนิวยอร์กซิตี้ กล่าวว่า เนื้อหานั้น เช่นการกลั่นแกล้ง การต่อสู้ทางการเมือง ข่าวที่น่าวิตกกังวล และการเปรียบเทียบทางสังคม ทำให้เกิดความทุกข์ทางอารมณ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ฝันร้ายได้
อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับการวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับคุณภาพการนอนหลับที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก และเผยให้เห็นอีกวิธีหนึ่งที่การใช้งานแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ แม้ว่าฝันร้ายที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลมีเดียยังคงถือว่าเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และการศึกษานี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ ดังนั้นจึงไม่สามารถพิสูจน์ผลการวิจัยได้ว่าเป็นสาเหตุ
แล้วโซเชียลมีเดียส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอย่างไร?
นอกจากฝันร้ายที่ไม่พึงประสงค์และน่าหดหู่แล้ว การศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ยังแสดงให้เห็นว่าคุณภาพการนอนหลับที่แย่ลงยังพบได้บ่อยในผู้ที่ใช้แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียมากเกินไปอีกด้วย
แอนโธนี เลวาซัวร์ (Anthony Levasseur) นักวิจัยด้านการนอนหลับจากศูนย์วิจัยขั้นสูงด้านการแพทย์ด้านการนอนหลับ กล่าวว่า งานวิจัยจำนวนมากสัมพันธ์กับเวลาที่ใช้บนหน้าจอโดยรวมกับสุขภาพการนอนหลับที่แย่ลงในกลุ่มวัยรุ่นและอาจรวมถึงผู้ใหญ่ด้วย
จริงๆ แล้วการศึกษาในปี 2024 ที่ศึกษากับผู้ใช้โซเชียลมีเดียมากกว่า 200,000 คน แสดงให้เห็นว่านิสัยและพฤติกรรมของการใช้โซเชียลมีเดีย และส่งผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นสามารถทำให้เกิดความเครียดเพียงพอจะเพิ่มโอกาสในการนอนหลับไม่สบายในตอนกลางคืน
ปัญหาที่เกี่ยวข้องอีกอย่างหนึ่งคือจังหวะการทำงานของร่างกายที่ผิดเพี้ยน เนื่องจากแสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแสงนี้จะกระตุ้นเซลล์ประสาทในจอประสาทตาที่ไวต่อแสงสีฟ้า โดยสิ่งนี้จะยับยั้งการผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดอาการง่วงนอน
อ้างอิงจาก