เมื่อถึงช่วงสอบเชื่อว่ าหลายคนคงรู้สึกอยากทำโน่นทำนี่ ไม่ว่าจะเป็นนั่งสมาธิ ดำน้ำ ปลูกปะการัง ทำอาหาร นวดสปา ปลูกป่า พอ! เรียกได้ว่าอยากทำทุกอย่างที่ ไม่ใช่อ่านหนังสือ ด้วยสารพัดเหตุผล ทั้งเนื้อหาเยอะ อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ ไม่เข้าใจซะที
แต่ถ้าหนังสือที่แสนจะน่าเบื่ อนี้กลายเป็นรูปแบบ 3 มิติ แถมยังมีการย่อยความรู้ ทำให้เราสามารถอ่านได้ง่ายขึ้ นล่ะ?
The MATTER พาไปคุยกับ นนท์-ฐิติวุฒิ นันทิภาคย์หิรัญ และ พัฒน์-ปริพัฒน์ สินมา สองหนุ่มผู้ใช้ design thinking ในการนำเสนอสื่อการเรียนการสอน ภายใต้ชื่อ Wizes นวัตกรรมแรกที่ Wizes คลอดออกมาก็คือ หนังสือเรียนสรุปสังคมศึกษา ม.ปลาย ที่มีการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality หรือ (AR) เข้ามาช่วยทำให้ภาพสมจริงมากขึ้ น รวมถึงการจัดทำอินโฟกราฟิกเพื่ อให้เด็กสามารถจำได้อย่างเป็ นระบบ เพราะพวกเขาเชื่อว่าสื่อที่ดี จะช่วยยกระดับการเรียนรู้ ถ้าอยากรู้ว่าอะไรที่ทำให้หนั งสือเล่มนี้แตกต่างจากหนังสื อเรียนทั่วไป ก็เลื่อนหน้าถัดไปเพื่ อไปทำความรู้จักกับ Wizes และหนังสือสังคมศึกษาแบบใหม่ไปพร้ อมกันเลย
นนท์-ฐิติวุฒิ นันทิภาคย์หิรัญ / Photo by Kitti Klaykoed
The MATTER : จุดเริ่มต้น รวมถึงคอนเซ็ปต์ของการทำหนังสื อเรียนสังคมศึกษา เป็นอินโฟกราฟิกมาจากไหน
นนท์ : จุดเริ่มต้นมาจากผลงานวิจัยจั ดอันดับการศึกษา ซึ่งไทยอยู่อันดับที่ 8 ของอาเซียน เราเองถึงแม้จะผ่านจุดนั้นมาแล้ วก็รู้สึกว่ามันน่าจะมีวิธีแก้ ไข หรือมีวิธีพัฒนาการศึกษาที่ เราจะสามารถทำได้บ้างมั้ย บวกกับทำงานมาสักพักแล้วด้ วยเลยเริ่มมองหา business model ใหม่ๆ ซึ่งเราสังเกตเห็นว่าผู้บริ โภคหรือเด็กในยุคปัจจุบันมี การใช้สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป สื่อทุกวันนี้ก็มีการพั ฒนามาเรื่อยๆ โลกมีข้อมูลมากขึ้น แต่เด็กไม่เข้าใจเนื้ อหา เขาอ่าน ท่อง สุดท้ายจำได้แค่วลี 1 2 3 4 ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่ตรงไหน มันอยู่ที่เด็กไม่เห็นภาพหรื อเปล่า จึงทำให้เกิดการพัฒนาอินโฟกราฟิ กเพื่อย่อยให้ข้อมูลง่ายขึ้น ซึ่งผมมองว่าตรงนี้คือโอกาส เราเลยแปลงสื่อตรงนั้นเพื่อให้ เข้าใจง่ายขึ้นครับ
The MATTER : ทำไมถึงเลือกวิชาสังคมศึกษาขึ้ นมาก่อน เป็นเพราะมันเป็นองค์ความรู้ที่ local คือมีเฉพาะบ้านเราหรือเปล่า ในขณะที่วิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ ความรู้จะสากลกว่า
พัฒน์ : พวกเราเองมองว่าวิชาสังคมเป็นวิ ชาที่ต้องใช้ความเข้าใจเยอะ ซึ่งปัญหาของข้อมูลแบบนี้คื อการที่คนนึกไม่ออกว่าการเชื่ อมโยงของข้อมูลหรือภาพนั้นเป็ นยังไง แต่ถ้ามีการทำอินโฟกราฟิก หรือการจัดลำดับต่างๆ เพื่อสร้างภาพในหัว ก็ จะสามารถทำให้จำได้ง่ายขึ้ นเยอะครับ ส่วนเนื้อหาก็เป็นเชิง local เพราะเราอยากเจาะกลุ่ มของการศึกษาไทยก่อน ด้วยตัวเนื้อหาที่ครอบคลุม ทำให้ตอนนี้มีผู้ใช้หลากหลาย ทั้งนักเรียนที่อ่านเตรียมสอบ เป็นสื่อช่วยอาจารย์สรุปเนื้อหา หรือกระทั่งพ่อแม่ที่ซื้อไปเตรี ยมข้อมูลเพื่อตอบคำถามลูก
The MATTER : การย่อยข้อมูลจากหนังสือ ม.ปลาย หลายเล่ม มาสู่หนังสือที่มีความหนาเพียง 205 หน้า มีวิธีการทำงานอย่างไร เราเลือกข้อมูลที่จะ ‘เอา’ หรือ ‘ไม่เอา’ อย่างไร และมีวิธีเลือกอินโฟกราฟิกแต่ ละประเภทให้เหมาะสมกับเนื้ อหาอย่างไร ใช้เวลาในการทำงานนานไหม
นนท์ : เนื่องจากเป็นหนังสือสรุปของเด็ กม.ปลาย ดังนั้นจะมีหลักสู ตรของกระทรวงศึกษาธิการเป็ นแกนหลัก หลังจากนั้นก็หาข้อมูลทั้ งหลายที่เกี่ยวข้องมาดูทั้ งหมดเพื่อให้เห็นภาพรวมว่ามีเนื้ อหาอะไรบ้าง จากนั้นเราก็ดูว่ามีอะไรที่ ขาดไป ความสัมพันธ์ของภาพรวมเป็นยังไง แน่นอนเราถนัดทางด้านสื่อ แต่ตัวคอนเทนต์เราจะแม่นยำได้ก็ ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ มาช่วยดู ก็เลือกเอานักวิชาการแต่ละด้ านมา เช่น เลือกคนจบเนติฯ จบเศรษฐศาตร์ มาดูแต่ละส่วนไปเลย
ส่วนวิธีเลือกการออกแบบนั้น เราออกแบบจากข้อมูลดิบให้ดูง่าย ไม่เน้นการตกแต่ง เน้นการใช้ภาษาภาพ (visual language) และการใช้ทฤษฎีต่างๆ เป็นพื้นฐานการออกแบบครับ เช่น การจัดลำดับ (hierarchy) จิตวิทยาทางการออกแบบ (gestalt) เพื่อจะให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย จดจำได้ ถ้าเค้าเข้าใจคอนเซ็ปต์ ของเนื้อหานั้นแล้ว การหาข้อมูลต่อก็จะเป็นสิ่งที่ ง่ายครับ ระยะการทำงานตั้งแต่แรกเริ่มก็ ประมาณ 1 ปีกว่าครับ
The MATTER : ระหว่างขั้นตอนรวบรวมข้อมูลกั บตอนที่ย่อยข้อมูลออกมาเป็น design ส่วนใหนที่ใช้เวลาเยอะและยากกว่ ากัน
พัฒน์ : จริงๆ ผมว่ามันก็ยากทั้งสองส่วน การทำความเข้าใจทางข้อมูลมันก็ ยาก เพราะเราต้องอ่านข้อมูลดิบก่อน เสร็จแล้วก็ค่อยๆ หยิบ ค่อยๆ เอามาวางให้มันเป็นภาพ อย่างเช่นการทำ timeline เราก็จะหยิบเอาเวลามาวางไว้ก่อน แต่ยังไม่มีระยะห่างในเชิ งภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง หยิบข้อมูลทุกอย่างออกมารวมกั นก่อน เสร็จแล้วค่อยๆ ย่อยให้มันเป็นภาพเข้ามาอีกทีนึ ง แล้วค่อยหาความเชื่อมโยง
พัฒน์-ปริพัฒน์ สินมา / Photo by Kitti Klaykoed
The MATTER : ก่อนหน้านี้ทำอะไร ถึงได้มาทำ Visual Knowledge
พัฒน์ : ผมจบ communication design ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานกราฟิกออกแบบอยู่แล้ว เป็นครูสอนวิชาออกแบบพื้นฐานกับ software illustrator อยู่ที่ BEAR SCHOOL OF VISUAL SPECIALIST แล้วก็มีสอนที่ ม.กรุงเทพนิดหน่ อย ส่วนตัวเป็นคนที่มี ความสนใจเรื่องการศึกษาอยู่แล้ว พอดีกับเพื่อนที่สนใจด้านนี้ เหมือนกันจึงได้มาทำตรงนี้ครับ
นนท์ : ผมจบด้าน product design ส่วนตัวถนัดด้านการวิ เคราะห์ ชอบหา mapping ว่าคนมีปัญหาอะไร แล้วก็จะมองหาโอกาสว่าเราจะทำสิ นค้าอะไรไปตอบโจทย์เขาได้บ้าง คิดนวัตกรรมเพื่อหาอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา แล้วหุ้นส่วนอีกคนเขาจบด้านครุอาร์ตมา แล้วงานจบ (thesis) ของเขาก็เป็ นหนังสือสอนเด็กครับ
The MATTER : ทำไมถึงเลือกเทคโนโลยีอย่าง Augmented Reality (AR) เข้ามาใช้ในบางส่วนของเนื้ อหามีส่วนช่วยในการเรียนรู้อย่ างไร
พัฒน์ : AR เป็นเทคโนโลยีที่สร้างมิติ ในแบบที่หนังสือให้ไม่ได้ เพราะหนังสือมันจะ flat มีแค่มิติเดียว ซึ่งในเชิงการออกแบบก็มีข้อจำกั ดเยอะสมมติเราจะทำเป็น pop-up book ในเชิง production ก็ยากเหมือนกัน ต้องตัด ปะ พับ มองในระยะยาวอาจจะไม่คงทน เราเลยเอาเทคโนโลยีอื่นเข้ ามาใช้ ซึ่งการที่เอา AR มาใช้ มันไม่ได้ทำให้ดีไซน์ของหนังสื อเสียด้วย อย่างตัวข้อมูลก็สามารถ cross ดูได้ ในหนังสือคือสิ่งที่เราย่อมาให้ แล้ว แต่ใน AR จะเป็นรูปจริง สามารถเปรียบเทียบกันได้ เช่น แผนที่พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ข้อมูลชุดเดียวกันแต่เราได้เห็ นในหลากหลายแบบก็จะทำให้เข้ าใจได้ง่ายมากขึ้นครับ
นนท์ : ซึ่งมองในเชิงผู้บริโภค การนำ AR ไปใช้ก็ทำให้เขาตื่นตาตื่นใจด้ วย อย่างอาจารย์บางท่านก็เอา AR ไปใช้ในห้อง เด็กๆ ก็จะมีความตื่นเต้น ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างนักเรียนกับอาจารย์มากขึ้ นด้วยครับ
(The MATTER : พวกอาจารย์โอเคกับอะไรแบบนี้ใช่ มั้ย)
พัฒน์ : ก็แฮปปี้นะครับ เขาพร้อมจะเรียนรู้เหมือนกัน range ของอาจารย์จะค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่อาจารย์จบใหม่ ไปจนถึงอารย์ที่สอนมาสักพักแล้ว เขาก็จะเอาไปให้หัวหน้าหมวดดูและ สั่งซื้อกันหลากหลายจังหวัด ทั่วประเทศเลยครับ
The MATTER : หนังสือเรียนส่วนใหญ่ใช้เนื้ อหานำดีไซน์ แต่ Wizes กลับใช้ดีไซน์นำเนื้อหา คิดว่าตรงนี้เป็นจุดแข็งหรื อทำให้เราได้เปรียบไหม
พัฒน์ : มันก็เป็นจุดแข็งนึงของเรา บางทีงานออกแบบหรือสิ่งที่เราพั ฒนาส่วนใหญ่มันจะมาจากคนที่อยู่ ใน field นั้น แต่คนนอก field ที่เขามองเห็นปัญหาแล้วนำไปพั ฒนามันก็เลยออกมาในอีกรูปแบบนึง ซึ่งคิดว่าในเมื องไทยงานออกแบบทางด้านหนังสือยั งพัฒนาได้อีกเยอะ
นนท์ : ถ้ามองในเชิงธุรกิจ การทำเนื้อหาของเราจะมองหานักวิชาการที่สนใจการพั ฒนาเนื้อหามาร่วมกับเรา แล้วก็ rotate ความรู้เข้ามาอยู่ในองค์กรเรื่ อยๆ
The MATTER : มีหนังสือเรียนของต่างประเทศที่ ชอบ หรือเป็นแรงบันดาลใจให้ เราทำโปรเจกต์นี้ไหม
พัฒน์ : มีของสำนักพิมพ์ DK ประเทศอังกฤษครับ ชุดหนังสือที่เป็น series เล่าเรื่องยากๆ ให้ง่ายอย่างปรัชญา ศาสนาต่างๆ ซึ่งข้อมูลมันมีความซับซ้อนมาก แต่ใช้ภาพมาเล่าให้ง่าย แต่เขาก็ยังไม่ได้ย่อยเยอะเท่ าหนังสือสังคมของเราครับ แล้วก็มีงานออกแบบของ Nicholas Felton ที่ออกแบบข้อมูลดิบ แต่ทำข้อมูลดิบยังไงให้มั นสวยงาม ส่วนแรงบัลดาลใจอื่นๆ ก็คือปัญหาหรือข้อผิดพลาดของสิ่ งที่มีอยู่ครับ ซึ่งเรามองว่าถ้าเป็นสิ่งที่ เราช่วยแก้ไขได้ ก็ควรทำดีกว่า เลิกบ่นกับสิ่งต่างๆ และเริ่มลงมือทำ อีกอย่างเรามองว่าถ้าเราไม่เริ่ มทำแล้วใครจะเริ่ม เราทุกคนสามารถช่วยพลักดันสั งคมได้ด้วยวิชาชีพต่างๆ ของแต่ละคน เราเองก็อยากให้สังคมดีขึ้นได้ ด้วยงานออกแบบ
The MATTER : เด็กสามารถอ่านหนังสือเล่มนี้ เล่มเดียวไปสอบได้เลยไหม
นนท์ : ใช่ ถ้าข้อสอบออกไม่เกินหลักสูตร (หัวเราะ)
พัฒน์ : คืออันนี้จะอ่านง่ายกว่า อ่านได้นานกว่า ไม่หลับ หรือว่าอ่าน 1 ชั่วโมงเท่ากันแต่ความรู้เข้าหั วเยอะกว่า เพราะมี research ที่บอกว่า ข้อมูลที่ไม่ได้มีรูปภาพหรือสิ่ งประกอบนั้นจะเข้าหัวแค่ประมาณ 10 % แต่ถ้ามีอินโฟกราฟิกก็ จะสามารถช่วยได้เยอะเหมือนกัน เช่น เรื่องการจัดข้อมูล โดยที่เด็กไม่ต้องไปไฮไลท์ให้ เสียเวลา โอเค เด็กไฮไลท์เป็นก็จริง แต่ใช้ไปเลย 30 สี มันก็ทำให้จัดลำดับไม่ได้สักเท่ าไหร่ แต่เราก็เอาตัวทฤษฎี ออกแบบมาวางระบบ เชิงออกแบบจะเรียกว่า Gestalt เป็นทฤษฎีที่เน้นศึกษาจิตวิ ทยาของสมองว่าสมองมันมองยังไง เช่น ตัวหนังสือที่มันอยู่ใกล้กั นจะเกี่ยวข้องกัน โดยที่เราไม่ต้องไปบอกเลยว่ามั นเกี่ยวข้องกัน แต่ใช้ทฤษฎีตรงนั้นมาใช้ในหนั งสือ ทำให้เราไม่ต้องไปบอกเขา
The MATTER : จะเห็นว่าหนังสือเล่มนี้มันเป็ นงานดีไซน์ซึ่งก็ต้องมีเรื่ องของลิขสิทธ์ กลัวไหมว่าจะมีคนลอกเลียนแบบ
นนท์ : ขนาดไปปรึกษากับกระทรวงพาณิชย์ มาแล้วผมยังไม่รู้สึกสบายใจเลย (หัวเราะ) อย่างเรื่องการซีร็อกซ์เนี่ย ผมก็คุยกับพัฒน์ว่าจะมีการป้ องกันยังไง แต่สุดท้ายมันก็กันไม่ได้อยู่ดี วิธีการของเราคือใช้สีเยอะ เพื่อที่มันจะช่วยเสริมสร้ างการจดจำที่ดีขึ้น เราพยายามจะสร้างให้เขาเข้าใจว่ าทำไมถึงต้องซื้อเล่มจริงไป ถ้าเทียบกับต้นทุน ราคาที่เราเสนอให้ถือว่าคุ้ มมากๆ
พัฒน์ : ถ้าถ่ายเอกสารสีหนึ่งหน้าก็ประมาณ 20 บาท แต่ถ้าถ่ายทั้งเล่ม ซื้อก็คุ้มกว่า คือมันจะเห็นแค่แบบฟอร์ม รูปทรง แต่ทางจิตวิทยาบอกว่ามนุษย์ จะมองรูปทรงก่อน เสร็จแล้วก็มองสี เสร็จแล้วค่อยมองข้อมูล สีก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้ เราสามารถแบ่งแยกเนื้อหาได้ง่ ายขึ้น
The MATTER : หนังสือเรียนกับการศึกษาไทย สะท้อนกันอย่างไร และเราควรพัฒนาไปในทางไหน
พัฒน์ : หนังสือ หรือสื่อเรียนในสมัยเด็กเป็นสิ่ งที่ปลูกฝังคนเราเหมือนกันนะ มันสร้าง taste สร้างวัฒนธรรม ที่เราจะ develop มันในอนาคต ซึ่งหนังสือจึงเป็นสิ่งสำคั ญที่ควรจะออกแบบมันให้ดี เพราะเด็กก็ใช้เวลาอยู่กับหนั งสือเยอะ หนังสือเป็นสื่อที่คนไม่ค่อยพู ดถึงเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ที่ถูกพูดถึงจะเป็นเรื่ องแก้ระบบ การบริหารเนื้อหาและครู แต่หนังสือเป็นสิ่งหลักที่ให้ ความรู้ความเข้าใจเนื้อหานั้ นเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งข้อมูลเยอะหรือน้อยเท่าไหร่ ก็ได้ แต่ถ้าถูกออกแบบมาไม่ดีเท่ าที่ควรก็ทำให้ผู้อ่านเข้าใจยาก ใช้เวลานาน ซึ่งถ้าสิ่งแรกของการเรียนที่เด็ กสัมผัสมันดี เด็กก็น่าจะสนใจเรียนมากขึ้น
นนท์ : เราเชื่อว่า อินโฟกราฟิกมันจะดีสำหรับเด็กด้ วย รูปร่างของข้อมูลจะสะท้อนไปถึงการสร้างความคิ ดของเด็ก ถ้าสมมติมีรากฐานการจดจำวลีต่ างๆ แบบ 1 2 3 4 แต่มันจะชัดเจนมากถ้าไปบอกให้ เด็กท่องให้ฟัง เขาก็จะท่องมาให้ฟังเป็นวลีๆ เลย แต่ถ้าเราลองสลับที่องค์ความรู้ เขาจะเริ่มสับสน แต่ถ้าเขาจำเป็นภาพ ความสัมพันธ์มันเกิดยังไง ประกอบด้วยอะไร มันก็จะทำให้เขาเข้าใจอะไรๆ ได้มากขึ้น
The MATTER : อย่างนี้แสดงว่า หนังสือเรียนแบบเดิมไม่มีการจั ดการองค์ความรู้หรือเปล่า?
พัฒน์ : ตอบยาก (หัวเราะ)
นนท์ : จริงๆ มันอาจจะต้องพูดถึงเรื่งของยุ คสมัยด้วยครับ ถ้าถามว่าเขาดีพอมั้ย ดีครับ แต่มันอาจต้องใช้ เวลาในการทำความเข้าใจ สร้างภาพให้เห็นในหัว ซึ่งในปัจจุบันพอมันมีความรู้ที่ มากขึ้นๆ เราจึงพยายามขมวดตรงนั้นให้เด็ กปรับย่อยได้อย่างมีประสิทธิ ภาพมากขึ้นครับ
พัฒน์ : อย่างตัวหนังสือเล่มนี้ บางทีจะเห็นว่าบางหน้ามันดูมี ความ minimal อยู่เยอะเหมือนกัน เพราะว่าการที่เราลดทอนรายละเอี ยดเหลือแต่สิ่งที่สำคัญมันทำให้ เด็กเข้าใจง่าย แล้วมันก็สร้าง abstract graph ด้วย สิ่งที่เรียกว่า abstract graph ก็คือการสร้างภาพในหัวขึ้นมา อย่างเช่น สมมติว่าเป็น timeline เค้าก็จะมองเห็นในหัวได้ว่าเป็ นภาพนั้นๆ แล้วเค้าก็จะเห็นความเชื่ อมโยงกันซึ่งจะทำให้สามารถดึงข้ อมูลมาใช้ได้ง่ายขึ้น เหมือนการจัด folder ใส่ในสมองให้เด็ก แทนที่เด็กจะต้องคิดในหัวเป็ นคำลอยๆ ขึ้นมาเอง
The MATTER : แปลว่าหนังสือเรียนในยุคเก่าไม่ มีคอนเซ็ปต์ในเรื่อของการดีไซน์ WIZES เลยเอาคอนเซ็ปต์ตรงนี้เข้ามาช่ วย
พัฒน์ : ใช่ครับ ผมมองอย่างนั้น เพราะว่าเมื่อก่ อนคนออกแบบหรือนักออกแบบเขาจะถูกมองว่าเป็นศิลปิน ศิลปะ สองอย่างนี้มีความเกี่ยวข้ องกันอยู่แต่มันสามารถแยกกันได้ครับ เพราะว่างานออกแบบมันต้องทำให้ ทุกคนเข้าใจ ทุกคนสามารถเสพได้ เป็น universal design แต่องค์ความรู้ตรงนี้ก็ต้ องไปเอางานจิตวิทยาหรืองานต่างๆ มาผสมด้วย ไม่ใช่สร้างความสวยงามอย่ างเดียว ซึ่งในเมืองไทยยังต้ องการการออกแบบตรงนี้อยู่ ถ้าเอาไปปรับใช้กับงานอื่นๆ มันก็จะทำให้คนเข้าใจมากขึ้น แทนที่จะสร้างความสวยงามได้อย่ างเดียวครับ
The MATTER : ทุกเฉดสีทุกการออกแบบในหนังสื อเล่มนี้มีทฤษฎีมารองรับทั้ งหมดเลยใช่มั้ย
พัฒน์ : ใช่ครับ อย่างสีหลักๆ ที่ใช้ทำให้แบ่งเนื้อหาได้ง่ าย แล้วสีก็ relate กับตัวข้อมูล น้ำหนักของสีแต่ละองค์ ประกอบเราก็แบ่งมาให้ชัด เช่น อันนี้เป็นข้อมูลอันดับรองสุ ดสีมันก็เลยต้องต่ำต้องจมกับตั วพื้น ส่วนข้อมูลที่สำคัญสีก็ต้องป๊ อบต้องโดดเด่นออกมา มันก็คือการลำดับข้อมูลทางด้ านสีและองค์ประกอบครับ
(The MATTER : เรียกได้ว่าเป็น design thinking อย่างแท้จริง เพราะโดยรากฐานของงาน design คือการแก้ปัญหาอยู่แล้ว)
ใช่ครับ แล้วเราก็เอาสิ่งๆ นี้มาปรับใช้กับหนังสือและการศึ กษาไทย
The MATTER : แล้วคิดว่า design thinking ควรจะเป็นแกนหนึ่งของระบบการศึ กษาในระดับมัธยมเลยหรือเปล่า
พัฒน์ : จากที่ผมเรียนสายออกแบบ ผมรู้สึกว่าควรจะ apply เข้ามาใช้ เพราะว่า design thinking จะทำให้เด็กคิดถึงปัญหา solution แทนที่จะ aesthetic ความสวยงาม อย่างในสมัยผมวิชาศิลปะจะเป็นวิ ชาที่สร้างความสวยงามหรือความเหมือน แต่ว่ามันไม่ได้มีเรื่องการออกแบบ solution ต่างๆ หรือการคิดเป็นเหตุเป็นผล
นนท์ : ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่อง solution ต่างๆ มันก็เหมือนจะทำให้เด็กเปิดกว้ างขึ้นไปอีกในการที่จะหา solution ใหม่ๆ หรือการแก้ปัญหาชีวิตด้วย
พัฒน์ : ผมว่าถ้าเราสอน creative thinking , critical thinking, business thinking หรือ design thinking ไปตั้งแต่ตอนเรียน สมมติถ้าจบ ม.6 ไป เด็กก็ยังจะสามารถแก้ปั ญหาต่างๆ ในสังคมได้
นนท์ : มันก็อาจจะเปลี่ยนบริบทจากการการตามสิ่ งใหม่ๆ กลายเป็นการเป็นการสร้างสิ่ งใหม่ๆ ขึ้นมาด้วยครับ
The MATTER : กลับมาที่เรื่องหนังสือ บทเรียนไหนในหนังสือที่รู้สึกว่ าเรา design ไปสุดทางได้เท่านี้จริงๆ
พัฒน์ : จริงๆ มันก็ยากเกือบหมดนะครับ แต่หลักๆ ก็คงจะเป็น timeline
นนท์ : timeline มันยากเรื่องการ proof ข้อมูลเพื่อเอามาลง เพราะว่า พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนกันอยู่ บ้าง
พัฒน์ : มันมี source ใหม่ๆ หรือว่า source ที่ต้องไปเอามาจากต่างประเทศ แล้วก็ต้องนำมา proof กับผู้เชี่ยวชาญอีกทีหนึ่งว่าข้ อมูลถูกต้องมั้ย
นนท์ : ที่เจ็บปวดที่สุดสำหรับผมก็คื อการย่อยอริยสัจ 4 (หัวเราะ)
พัฒน์ : ใช่ๆ การย่อยศาสนาพุทธให้เป็ นภาพการเชื่อมโยง
The MATTER : แล้วการใช้ icon หรือสัญลักษณ์เพื่อแทนเรื่องต่ างๆ ในหนังสือ เราต้องไปตรวจสอบความถูกต้องกั บแหล่งข้อมูลมั้ย
พัฒน์ : อย่าง icon เนี่ย เราพยายามที่จะทำให้มันเข้าใจง่ ายที่สุดครับ คือใช้เชิงสัญญะที่ไม่ได้ซับซ้ อนอะไร ตัว icon ข้างในมันก็เลยจะเป็นการ simplify หรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้นๆ ไปเลยครับ เพื่อที่เวลามองจะได้ไม่ต้องตี ความมาก
The MATTER : อยากรู้ว่าตอนที่ทำรู้สึกอย่ างไร สะใจที่ได้ทำไหมหรือว่ารู้สึ กทรมาน
พัฒน์ : จริงๆ ก็สองอย่างนะ (หัวเราะ)
นนท์ : คือตอนทำก็น้ำตาไหลนะแต่ พอทำออกมาเสร็จก็ปัดน้ำตาทิ้ง (หัวเราะ)
พัฒน์ : เพราะว่า feedback ก็ดีเหมือนกันครับ
นนท์ : ซึ่งพูดถึงประเด็นเมื่อกี้ที่ บอกว่า เนื้อหาของคนที่ตรวจนำข้อมูลที่ เราไปเจอมาหรือเปล่า มันก็เลยเป็นเหมือนจุดๆ หนึ่งที่เรามีอยู่ในหน้าแรกครับ เป็นคำใบ้ไว้ เราจะมีใส่เวอร์ชั่นไว้ว่ าเราสตาร์ทที่ 4.0 นะ เพราะเราล้อตามแผนพัฒนาการศึ กษาไทยครับ
(The MATTER : เพราะว่าหนังสือเรียนความรู้มั นตายตัว)
นนท์ : ใช่ครับ
พัฒน์ : แต่อันนี้ไม่ตายตัว มันจะ develop ทุกปีครับ
นนท์ : เราเชื่อว่าการศึกษา หรือความรู้ที่เราเชื่อยู่ตอนนี้ เองมันมีการพัฒนา มันมีการเปลี่ยนแปลง มีการพิสูจน์ มีการค้นพบอะไรใหม่ๆ เรื่อยๆ ซึ่งเราต้องการจะให้เด็กทั นโลกครับ
The MATTER : อะไรคือสิ่งที่ได้รับจากการทำหนังสือเล่มนี้
พัฒน์ : ผมรู้สึกว่า feedback คือ reward หรือว่าสิ่งที่มันสร้างความเปลี่ ยนแปลงในสังคมผมก็รู้สึกว่านั่ นคือ reward ซึ่งมันเป็นสิ่งหล่อเลี้ ยงทั้งคนที่ทำงานออกแบบและคนที่ทำสิ่งๆ นี้ครับ จริงๆ เวลาทำงานออกแบบบางคนจะกลัวมากว่า feedback จะดีหรือไม่ดียังไง แต่สิ่งที่มันดีและมันสนุก ผมว่ามันคือการเห็น feedback จากคนในมุมมองที่หลากหลาย คนนี้ชอบ คนนี้ไม่ชอบยังไง รวมทั้งความคิดเห็นที่เกิดขึ้น สำหรับผมมันเป็นสิ่งที่ดี สนุกครับ
The MATTER : ถ้าตอนนี้ให้ไปสอบ o-net คิดว่าจะได้คะแนนมากแค่ใหน
นนท์ : จริงๆ ผมเคยลองดู ก็ค่อนข้างมั่นใจนะครับ (หัวเราะ) ต้องยอมรับว่าการออกข้อสอบสั งคมศึกษาบางทีมันก็มีการดึงประเด็ นความรู้ทั่วไปที่อยู่นอกห้ องเรียนมาใส่ในข้อสอบค่อนข้ างมากพอสมควร ทีนี้หนังสือเล่มนี้มันอาจไม่ได้มี เนื้อหาส่วนนี้บ้าง เพราะเราพยายามเอาแก่ นมาสรุปให้เป็นสาระสำคัญ ซึ่งสาระก็คงจะครอบคลุมไม่ได้ อยู่แล้ว เพราะว่ามันคือเรื่องของโลกทั้ งโลกเลยครับ
พัฒน์ : แต่ในเล่มก็จะมีข้อมูลใหม่ๆ อย่างเช่น การค้นพบน้ำในแกนโลกซึ่งมันเพิ่งมีมาเมื่อปีที่แล้ว หรือว่าดวงจันทร์ดวงที่สองที่เพิ่งค้นพบ หรือข้อมูลสนุกๆ อย่างซูชิปลาแซลมอนเกิดขึ้นเมื่ อไหร่ เกี๊ยวซ่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่
The MATTER : ช่วยนิยามคำว่า ‘ความรู้’ ในสิ่งที่ค้นพบจากการทำโปรเจกต์นี้ หน่อย
พัฒน์ : ความรู้มันเป็นสิ่งที่ไม่ได้มี อายุเข้ามาจำกัด การเรียนรู้ของมนุษย์มี การพัฒนาเรื่อยๆ มีข้อมูลใหม่ๆ สิ่งที่เรารู้มันก็เป็น truth เป็นความเชื่อ แต่ในเชิง fact มันก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอย่างในเรื่องสังคมมันก็ จะมีทั้งความจริงกับความเชื่ อเข้ามาผสมปนเปกัน ทำให้เราต้องอัพเดทข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
นนท์ : ผมว่าเราจะเรียกสารที่เรารั บเข้าไปสู่สมองได้ว่าเป็นความรู้ก็ต่อเมื่อ เราสามารถนำสารนั้นมาประยุกต์ แล้วต่อยอดได้ครับ
The MATTER : แผนในอนาคตของทีมเป็นอย่างไร มีโปรเจกต์ที่คิดจะทำสรุปเป็นอิ นโฟกราฟิกเพื่อให้เข้าใจง่ ายอีกหลายวิชาหรือเปล่า
พัฒน์ : มีครับ แต่ก็กำลังเริ่มๆ อยู่ มีแผนจะออกวิชาอื่นๆ อีกในปีนี้ เรียกว่าเราทำสื่อเพื่อการเรี ยนรู้ดีกว่า แต่ทั้งนี้เราเองก็อยากเปิ ดโปรเจกต์ใหม่ๆ ทางการศึกษาด้วยครับ คิดว่าไม่อยากจำกัดแค่การทำหนั งสือเรียน เราก็จะมี platform อื่นๆ ออกมา ที่สามารถประยุกต์ใช้ ทำให้คน interact ได้ดีขึ้นเข้ามาเสริมด้วย
(The MATTER : คิดว่า plat from นี้ใช้ได้กับความรู้ทุกประเภทเลยมั้ย)
พัฒน์ : ใช้ได้กับทุกประเภทครับ ตั้งแต่คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ หรือวิชาใดๆ ก็ตาม การย่อยข้อมูลมันเป็นเหมื อนองค์ประกอบพื้นฐานในเชิ งการออกแบบที่เราสามารถนำไป apply กับข้อมูลใดๆ ก็ได้
นนท์ : ซึ่งถ้าอ้างอิงถึงการทำความเข้ าใจ การจดจำเรื่องต่างๆ ของมนุษย์ มันก็จะ refer ไปถึงว่าทุกอย่างมันเป็ นโครงสร้างไปหมด เพราะฉะนั้นเราจึงพยายามออกแบบโครงสร้างให้ มันสัมพันธ์กับ fact ความเป็นจริงที่มันเกิดขึ้น แล้ วทำให้เขารับตรงนั้นได้อย่างถู กต้องครับ
The MATTER : มีความคาดหวังอย่างไรบ้างกับหนั งสือเล่มนี้ ทั้งต่อวงการการศึกษา อาจารย์ นักเรียนหรือวงการกราฟิก
พัฒน์ : ผมก็หวังว่ามันจะเป็นจุดเริ่ มต้นของการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาในส่วนอื่นๆ หรือการเข้ามาของคนรุ่นใหม่ และในฐานะที่เราจบสายออกแบบ ก็หวังว่าจะมี คนสนใจในงานออกแบบและเห็นคุณค่ าของงานออกแบบมากขึ้น เช่น พัฒนาการศึกษาหรือปรั บปรุงสิ่งอื่นๆ โดยใช้งานออกแบบ
นนท์ : ผมมองว่าจริงๆ เราก็มีความคาดหวังอยู่เหมือนกั นครับ สมมติว่าถ้าหากเราได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่ งแล้วสามารถช่วยเสริมสร้ างความแข็งแกร่ง เสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับเค้ าได้ เราก็พร้อมที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะพัฒนาตรงจุดนี้ให้กั บทางนั้นด้วย แล้วก็คาดหวังในเรื่อง design thinking ด้วยครับ
สำหรับผมเองหรือสำหรับเราเอง มองว่ามันเป็นประโยชน์ เป็นตัวตั้งต้นของอะไรหลายๆ อย่าง มันสามารถ apply ได้แม้กระทั่งกับนักเรียนทั้ งครูหรือว่าทั้งภาคธุรกิจ ถ้าหากมองในเทรนด์โลกเราก็จะเห็ นว่าทุกคนให้ความสำคัญกับ design thinking มากครับ
Interview by Marisa Paleebat & Geerapat Yodnil