ยังจำเรื่องราวในร้านศึกษาภัณฑ์กันได้ไหม? ถ้าย้อนกลับไปในวัยเรียน คุณซื้ออะไรจากร้านขายสินค้าด้านการศึกษาอันสุดแสนคลาสสิคนี้กันบ้าง
ท่ามกลางข่าวเรื่องการขาดทุน วันนี้ The MATTER หยิบตัวเลขที่ร้านศึกษาภัณฑ์มาให้ดูกัน จากข้อมูลที่รวบรวมมาจะเห็นว่า สาขาที่ขาดทุนมากที่สุด คือ สาขา ‘ราชดำเนิน’ ซึ่งเป็นสาขาที่ค่อนข้างใหญ่ และต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับการขาย และการบริหารงานภายในที่สูงถึงกว่า 42 ล้านบาทเลยทีเดียว
ขณะเดียวกัน ถ้าหากเทียบกันเป็นเปอร์เซ็นต์การขาดทุนแล้ว จะสามารถเรียงลำดับเปอร์เซ็นต์การขาดทุนได้ Top 5 ดังนี้
สาขา อ้อมน้อย : ขาดทุน 20 เปอร์เซ็นต์
สาขา สนามกีฬาแห่งชาติ : ขาดทุน 16.64 เปอร์เซ็นต์
สาขา ท้องฟ้าจำลอง : ขาดทุน 8.88 เปอร์เซ็นต์
สาขา ราชดำเนิน : ขาดทุน 8.69 เปอร์เซ็นต์
สาขา ลาดพร้าว : ขาดทุน 0.23 เปอร์เซ็นต์
ล่าสุดนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ อรรถพล ตรึกตรอง ได้ออกมาชี้แจงว่า ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ศึกษาภัณฑ์หลายสาขาต้องขาดทุน ไม่ใช่เรื่องของการบริหารจัดการ แต่สาเหตุหลัก คือค่าเช่าที่มีราคาค่อนข้างสูง
รายงานของสำนักข่าวไทย ได้ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกัน คือ ปัญหาหลักๆ คือเรื่องค่าเช่าที่ดินซึ่งค่อนข้างสูง โดยมี 5 สาขาที่องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ (สกสค.) ยกตัวอย่าง สาขาราชดำเนินมีค่าเช่าเดือนละ 900,000 บาท อีกหนึ่งปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คืออัตราเงินเดือนของพนักงาน ที่เพิ่มขึ้นตามความอาวุโสปีละกว่า 700 ล้านบาท
สำหรับทางออกที่หลายฝ่ายกำลังพูดคุยกันในตอนนี้ มีอยู่ 2 ทาง ตามที่ ผอ.องค์การค้าฯ ให้สัมภาษณ์ ทางแรก คือ เพิ่มรายได้เพื่อการอยู่รอด โดยจะเปิดเพิ่มโอกาสในการค้าขายในช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ขายหนังสือแบบ E-book รวมถึงปรึกษากับฝ่ายการตลาด เพื่อเพิ่มสินค้าให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ส่วนอีกทางคือการลดรายจ่ายที่พอจะตัดออกได้ ไม่ว่าจะเป็นการ ขอความร่วมมือไม่ให้พนักงานทำโอท
“ส่วนการบริหารจัดการหนี้ขององค์การค้าฯ ก็จะดูเรื่องการแปลงทรัพย์สินเป็นทุนซึ่งมีหลายตัวเลือก เช่น เรื่องที่ดินก็ต้องทำโฉนดให้เรียบร้อย เพราะบางแปลงยังไม่มีโฉนด หรือให้เช่าถ้าบางพื้นที่ทำแล้วคุ้มทุนก็อาจเป็นไปได้ และกรณีร่วมทุนก็พบว่ามีนักธุรกิจรายใหญ่สนใจมาร่วมทุนแต่ให้องค์การค้าฯทำต่อตรงนี้ยังต้องพิจารณากันอีกหลายขั้นตอน ส่วนการขายจะเป็นประเด็นท้าย” อรรถพล กล่าว
ทั้งนี้ทั้งนั้น มีรายงานจากบุคคลภายในองค์การค้าฯ ว่าจะยังไม่มีการยุบศึกษาภัณเกิดขึ้น (อย่างน้อยก็ได้เร็วๆ นี้)
เพราะกระทรวงศึกษาต้องการให้ศึกษาภัณฑ์ ทำหน้าที่พยุงราคาแบบเรียน และส่งเสริมสินค้าเกี่ยวกับสื่อการศึกษาต่อไป
อ้างอิงข้อมูลจาก