มนุษย์เรียนรู้ที่จะดูแลช่องปากมานานกว่าที่คุณคาดคิด อาการฟันผุเป็นประสบการณ์ที่ไม่น่าอภิรมย์มาแต่โบราณกาล และเมื่อคุณจำเป็นต้องพบปะผู้คนที่ใช้ชีวิตในสังคมร่วมกัน กลิ่นปากที่ไม่น่าปรารถนามักเปลี่ยนทุกการปฏิสัมพันธ์ให้เป็นประสบการณ์ที่เลวร้าย การแปรงฟันจึงพัฒนาเคียงคู่กับสังคมมนุษย์ เมื่อมนุษย์เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ สุขภาพปากและฟันจึงจำเป็นอันดับต้นๆ ของชีวิต
นักโบราณคดีพบหลักฐานแปรงสีฟันอายุกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาลในพื้นที่อาณาจักรบาบีโลน (ปัจจุบัน คือ อิสราเอล) และอียิปต์โบราณโดยทำจากก้านไม้ที่นำมาดัดเป็นฝอยๆส่วนปลาย แม้แต่ละหลุมฝังศพของคนอียิปต์ยังต้องฝังไม้สีฟันให้กับผู้ล่วงลับไปด้วย เพื่อนำไปแปรงให้ฟันขาวในภพภูมิหน้า ส่วนอาณาจักรจีนโบราณในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ชาวจีนกัดเคี้ยวว่านและกิ่งไม้ เพื่อให้น้ำมันที่อยู่ใต้เปลือกระงับกลิ่นปากและมอบลมหายใจอันสดชื่นอย่างง่ายๆ
หลังจากนั้นมนุษย์ก็เริ่มพัฒนาแปรงที่ลักษณะเป็นขน โดยรูปทรงใกล้เคียงกับแปรงในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่ทำจากขนสัตว์ จนกระทั้งเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่วิทยาการด้านวัสดุศาสตร์รุดหน้า ผู้ผลิตเริ่มใช้วัสดุสังเคราะห์ที่สะอาดกว่า นำโดยบริษัท Du Pont พัฒนาไนลอน (Nylon) ให้เป็นขนแปรงในปี 1938 จวบจนปี 1950 ที่แปรงสีฟันมีขนที่อ่อนนุ่มและสบายช่องปากมากขึ้น จนกลายมาเป็นแปรงสีฟันที่ทันสมัยประจำตัวคุณจวบจนปัจจุบัน
‘ยาสีฟัน’ ก็ต้องมา เพราะเราคู่กัน
ยาสีฟันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการทำความสะอาดช่องปาก เกือบทุกอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ล้วนพัฒนาสูตรยาสีฟันเป็นของตัวเอง ซึ่งปรากกฎมายาวนานตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์ขึ้นชื่อว่ามีรสนิยมดี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์แรกๆที่สนใจเรื่องกลิ่นปาก จนความนิยมแพร่ขยายไปสู่อารยธรรมอื่นๆด้วย อย่าง กรีก โรมัน และจีน
แม้เวลาจะผ่านไปหลายพันปี วัตถุประสงค์หลักของยาสีฟันกลับไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย นั่นคือการรักษาฟันให้ขาวสะอาด แข็งแรง มีสุขภาพเหงือกที่ดี และที่สำคัญต้องมอบลมหายใจสดชื่น เสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้
ยาสีฟันที่พัฒนาในยุคบุกเบิกทำจากวัสดุธรรมชาติล้วนๆ และมีความหลากหลาย ตั้งแต่กีบเท้าสัตว์ที่เผาจนเป็นขี้เถ้า เปลือกไข่ผสมหินพัมมิส (Pumice) ชาวกรีกและโรมันนิยมความรู้สึกของการขัดสี จึงเพิ่มส่วนผสมของเถ้ากระดูกและเปลือกหอยนางรมป่นให้มีความหยาบในการขัดถู ส่วนถ่านชาโคลและเปลือกไม้ก็เป็นส่วนผสมที่ขาดไม่ได้ เพื่อลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในช่องปาก
ชาวจีนเองก็หยิบสมุนไพรในธรรมชาติมาดัดแปลงเช่นกัน เช่น เกลือ พืชตระกูลมินต์ และโสม มาเป็นส่วนประกอบหลักๆของยาสีฟัน ธรรมชาติเองก็มีของดีเยอะ
หลังจากนั้นก็มีการคิดค้นสูตรใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อผลิตยาสีฟันในลักษณะอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่เป็นผงแห้งๆ ป่นละเอียด จนกระทั้งเข้าสู่ปี ค.ศ. 1800 โลกเริ่มรู้จักกับยาสีฟันชนิดข้นเหนียว โดยใช้ส่วนผสมของสบู่ และใส่สารเคมีต่างๆ อาทิ โซเดียม ลอริล ซัลเฟต (Sodium lauryl sulphate) พาราเบน (Parabens) และ โซเดียมเบนโซเอต (Sodium benzoate) และสารสังเคราะห์อื่นๆร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่บริษัทผู้ผลิตต้องการ สร้างฟองระหว่างแปรง และรักษาสภาพผลิตภัณฑ์ไว้ให้อยู่ได้นานๆ
ยาสีฟันหลายยี่ห้อในท้องตลาดยังนิยมใส่สารเคมีเหล่านี้ เพราะ มีราคาถูก และมอบประสบการณ์ “รู้สึกเหมือนจะสะอาด” เพื่อมัดใจผู้บริโภค แต่จากความก้าวหน้าทางการแพทย์ใหม่ๆ กลับพบว่า สารเคมีเหล่านี้ ล้วนสร้างผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว และไม่ได้ดีต่อสุขภาพช่องปากอย่างที่กล่าวอ้างจาก 3 สหาย วัตถุต้องสงสัย โซเดียม ลอริล ซัลเฟต (Sodium lauryl sulphate) พาราเบน (Parabens) และ โซเดียมเบนโซเอต (Sodium benzoate) จึงเป็นสารเคมีที่น่าเคลือบแคลงใจอยู่ไม่น้อย
ภัยเงียบจากยาสีฟันยุคใหม่
สารสังเคราะห์ที่เป็นส่วนประกอบเสริมในยาสีฟันกำลังสร้างปัญหา อย่าง โซเดียม ลอริล ซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate) หรือ SLS เป็นสารทำความสะอาดยอดนิยม ถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น ยาสีฟัน แชมพู ครีมอาบน้ำ เจลล้างหน้า รวมทั้งน้ำยาล้างพื้น! ด้วยคุณสมบัติทำให้เกิดฟอง ลดความมัน ช่วยเพิ่มความรู้สึกที่ดีในการแปรงฟัน แต่ในอีกแง่หนึ่ง SLS เป็นสารชะล้างที่มีฤทธิ์รุนแรง เป็นอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา
แต่สาร SLS มักมีราคาถูก ผู้ผลิตจึงนิยมใส่ในยาสีฟัน ซึ่งสามารถตกค้างในผิว และเมื่อใช้ไปนานๆ จะทำให้แพ้และระคายเคืองได้ง่าย เพราะสาร SLS มีคุณสมบัติเชิงการแพทย์เพื่อทดสอบ “อาการแพ้ผิวหนัง” หรือที่เรียกว่า Hypoallergenic test จึงเป็นบทพิสูจน์ได้ดีว่า ผิวหนังคนเรามักไม่ทนสาร SLS ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
ระยะหลังๆ มีข่าวเกี่ยวกับสาร SLS ว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้ต่างประเทศได้ยกเลิกการใช้สารประเภทนี้ไปแล้ว แต่ในประเทศไทยยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง โดยเฉพาะสบู่เหลว ซึ่งใช้กันทุกเพศทุกวัย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
ยืดอายุผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ยืดชีวิตคุณ
เมื่อยาสีฟันถูกผลิตในเชิงอุตสาหกรรมในปริมาณมากๆ ก็จำเป็นต้องคงสภาพสินค้าให้ได้นานที่สุดก่อนถึงมือผู้บริโภค ผู้ผลิตหลายรายจึงแก้ปัญหาด้วยการเติมสาร พาราเบน (Parabens) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ขึ้นทางเคมี ใช้ในการรักษาสภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ให้ขึ้นราหรือถูกแบคทีเรียเข้าไปทำปฏิกิริยาจนผลิตภัณฑ์แปรสภาพ ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอางหรืออุตสาหกรรมยา มักมีราคาถูกและสามารถควบคุมการออกฤทธิ์ได้แม่นยำตรงตามความต้องการ
แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีนักวิจัยได้ทำการศึกษาถึงผลข้างเคียงของพาราเบนที่มีต่อมนุษย์ นักวิจัยญี่ปุ่นพบความผิดปกติของทารกเพศชายที่ได้รับสารพาราเบนจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของแม่ ทารกเกิดความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ และการหลั่ง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือฮอร์โมนเพศโดยตรง
นักชีวโมเลกุลชาวอังกฤษได้รายงานว่า พบพาราเบนในเนื้อร้ายจากผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งพาราเบนที่พบน่าจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่ผู้ป่วยใช้สัมผัสกับผิวหนังบริเวณรักแร้ ครีมทาผิว หรือสเปรย์ฉีดร่างกาย นอกจากนั้นยังมีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา พบว่ามะเร็งเต้านมขั้นต้นที่พบ มีส่วน สัมพันธ์กับความถี่ของการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายและเครื่องสำอางที่มีพาราเบนของผู้ป่วย
พาราเบนเป็นสารสังเคราะห์ที่ไปจำลองการทำงานของฮอร์โมนเอสโทรเจน ซึ่งฮอร์โมนล้วนละเอียดอ่อนและทำงานร่วมกับต่อมไร้ท่อในร่างกาย ดังนั้นการได้รับพาราเบนเป็นระยะเวลาต่อเนื่องจึงมีผลต่อการทำงานของอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเรื่องน่าวิตกว่าร่างกายของเรามีพาราเบนตกค้างอยู่มากเท่าใดจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั้งหลาย
และอีกสารที่มักมองข้ามไม่ได้ คือ สารกันบูด โซเดียมเบนโซเอต (Sodium benzoate) ที่มักเพิ่มในผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีค่า pH 4.5 หรือต่ำกว่า อาทิ น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน ครีม โลชั่น และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอื่น ๆ แม้ปริมาณจะไม่มาก แต่อาจถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง ซึ่งขณะนี้กำลังมีการตั้งคำถามอยู่ว่า โซเดียมเบนโซเอตมีผลเสียต่อ DNA ของมนุษย์หรือไม่
โรคมะเร็งที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน อาจเกี่ยวข้องกับ โซเดียมเบนโซเอต หากมันรวมเข้ากับวิตามินซีและ โพแทสเซียมเบนโซเอต (สารกันบูดอื่นๆ)จะกลายสภาพเป็นสาร เบนซีน (Benzene) หรือที่รู้จักในฐานะสารก่อมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่เราได้รับเบนซีน มาจากสภาพแวดล้อมรวมทั้งควันบุหรี่ไอเสียรถยนต์ กากอุตสาหกรรม และมันก็เสี่ยงไม่น้อยที่สารนี้มักปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่คุณใช้ทุกวัน
มาจากธรรมชาติ ก็ต้องให้ธรรมชาติดูแล
แม้เราจะเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่ยาสีฟันเติมแต่งสารประกอบอื่นๆที่เกิดจากการสังเคราะห์ในห้องทดลอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราต้องละทิ้งองค์ความรู้จากธรรมชาติเสียทั้งหมด เห็นได้ว่าจากประวัติศาสตร์ยาสีฟันที่มีมาอย่างช้านาน เราใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและพืชพรรณอย่างเข้าอกเข้าใจ การเลือกไปสัมผัสประสบการณ์ดีๆอีกครั้งก็ไม่เลว
ยาสีฟันเดนตาเมท เป็นยาสีฟันสมุนไพรธรรมชาติสกัดบริสุทธิ์สูตรเข้มข้น ที่ผ่านการรับรองทางการแพทย์ ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย ตามมาตรฐาน GMP , TGA และ HALAL และผลิตจากสารสกัดเข้มข้นพิเศษจากแหล่งวัตถุดิบที่คัดสรรเป็นอย่างดี ซึ่งล้วนแต่มีคุณประโยชน์ต่อช่องปากและฟันทั้งสิ้น อาทิ ดอกกานพลู (Clove) มีสรรพคุณในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียตามธรรมชาติ ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆในช่องปาก และรักษาแผลในช่องปาก การบูร (Camphor) และ พิมเสน (Borneol) กลิ่นหอมๆช่วยเพิ่มความสดชื่น ช่วยให้เหงือกรัดกระชับและบำรุงเส้นประสาทรากฟัน เกลือบริสุทธิ์ (NaCl) บำรุงเหงือกแข็งแรง
นอกจากนั้นยังมีส่วนผสมที่สกัดจากธรรมชาติ อย่าง Zinc Citrate, Sodium Bicarbonate และ Hydrated Silica มีส่วนช่วยยับยั้งและปกป้องการก่อตัวของคราบพลัค, หินปูน และกลิ่นปาก โดยไม่ทำลายสารเคลือบฟัน ไม่ทำให้เสียวฟัน เมื่อใช้เป็นเวลานาน
ยาสีฟันเดนตาเมท จึงปลอดภัยกว่า โดยปราศจากส่วนผสมที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง และอาจตกค้างส่งผลเสียในระยะยาวต่อสุขภาพ เช่น SLS, Parabens, Benzoate ลดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ต้นเหตุของกลิ่นปาก เนื้อยาสีฟันสีขาวและเนื้อครีมละเอียดกว่ายาสีฟันสมุนไพรทั่วไป โดยพัฒนาเป็นสูตรเข้มข้น มีประสิทธิภาพสูง ใช้เพียงเท่าเมล็ดถั่วเขียว สามารถใช้ได้นานกว่ายาสีฟันทั่วไป 7 ถึง 8 เท่า ก็ในเมื่อมนุษย์เติบโตมาพร้อมกับธรรมชาติ ก็ควรให้ธรรมชาติดูแลถึงจะดีที่สุด
ปล่อยตัวเองจากความคิดเดิมๆ
ก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่า ยาสีฟันสมุนไพรมักถูกมองว่าล้าสมัยในยุคหนึ่ง แต่จากงานวิจัยใหม่ๆและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ กลายเป็นสิ่งยืนยันว่า ศาสตร์ที่มาจากธรรมชาติเป็นพลังที่น่าค้นหาที่สุด ราวกับมันเติมเต็มจิ๊กซอว์ที่หายไปของวิทยาการมนุษย์นับพันๆปี ก็เหมือนความมั่นใจที่ไม่ต้องแต่งเติมอะไรมาก เพราะ คุณเป็นคนเดียวที่รู้ดีที่สุดว่ากำลังให้สิ่งที่ดีกับตัวเอง
เมื่อความมั่นใจพร้อม ฟันขาวสะอาด ลมหายใจสดชื่น จะทำอะไรก็เป็นต่อเสมอ ก็อย่างที่เห็น มนุษย์โหยหาความมั่นใจจากการดูแลช่องปากมาเป็นพันๆปี เพื่อการอยู่ร่วมกัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ปลดปล่อยตัวคุณออกจากความคิดเดิมๆและสารสังเคราะห์ที่คุ้นชิน สู่ประสบการณ์ดีๆจากธรรมชาติที่จะทำให้คุณนั้นรู้สึก “โล่ง..สะอาด” อย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน
อ้างอิงข้อมูลจาก
CIR Report on SLS
Profile of irritant patch testing with detergents: sodium lauryl sulfate, sodium laureth sulfate and alkyl polyglucoside.
Final report of the amended safety assessment of sodium laureth sulfate and related salts of sulfated ethoxylated alcohols.
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12641575
http://www.spafromscratch.com/sodium-benzoate-dangers/
http://www.national-toxic-encephalopathy-foundation.org/wp-content/uploads/2012/01/sls.pdf