เรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่ความเครียดเป็นศัตรูอันดับต้นๆ ของสุขภาพ และมันกำลังจับ ‘สมอง’ ของคุณไว้เป็นตัวประกัน ภาวะเครียดเรื้อรังสามารถเปลี่ยนโครงสร้างสมองของคุณได้อย่างถาวร ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล นำไปสู่อาการป่วยทางจิตอื่นๆ เปลี่ยนคุณให้เป็นคนมองโลกแคบ ขี้หลงขี้ลืม และไม่มีความสุขไปโดยปริยาย
เรื่องเครียดๆ
‘ความเครียด’ เป็นสัจธรรมที่แท้จริงของชีวิต ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความเครียดได้ เมื่อทุกอิริยาบถที่คุณทำ ทุกการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับคนอื่นๆ ล้วนสร้างความวิตกกังวลในใจ ภายใต้อิทธิพลของการแข่งขันทางสังคมที่เรียกร้องให้คุณต้องตอบสนองอย่างฉับไว และทุกความผิดพลาดล้วนถูกประเมินจากสายตาคนรอบข้างเสมอ
ความเครียดมีอยู่ 2 จำพวกใหญ่ๆ คือ
Acute stress ความเครียดที่เกิดขึ้นทันที และร่างกายตอบสนองต่อความเครียดนั้นอย่างฉับพลัน เพราะไม่ใช่ทุกความเครียดที่ทำร้ายคุณเสมอไป ความเครียดชนิดฉับพลันทำให้คุณพร้อมที่จะเผชิญความท้าทาย กระตุ้นให้คุณต้องสู้หรือถอยหนี (fight or flight) ปกป้องตัวเอง ปกป้องคนอื่น ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นภัยต่อชีวิต
มันจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เรารอดชีวิตจากสถานการณ์แย่ๆ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) จะเพิ่มสูงขึ้นเพื่อให้ร่างกายเมื่ออยู่ในภาวะตึงเครียด มัดกล้ามต่างๆทั่วร่างกายจะได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น หากบรรพบุรุษเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากความเครียดแบบ Acute stress เราก็อาจจะไม่รู้วิธีการวิ่งหนีสัตว์นักล่าที่จ้องจะเขมือบ ยังคงนั่งเย็นใจในกระท่อมที่ไฟลุกโชน หรือยอมให้ใครมายึดของของคุณไปอย่างหน้าตาเฉย แต่เมื่อภัยเหล่านั้นผ่านพ้นไป ร่างกายคุณจะปรับสู่สมดุลปกติ และฮอร์โมนคอติซอลกลับมาอยู่ในระดับพอเหมาะ การที่ร่างกายคุณตอบสนองกับ Acute stress เพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการรอดชีวิตบนโลกเบี้ยวๆนี้ให้นานกว่าคนอื่น
Chronic stress ความเครียดเรื้อรัง ศัตรูที่แท้จริงที่ทำร้ายคุณอย่างเจ็บแสบ มันคือความเครียดที่สะสมและกดทับไว้โดยมีคาบเวลาที่ยาวนาน เป็นความเครียดที่ไม่นำพาไปสู่การหาทางออกที่สร้างสรรค์ และบ่อนทำลายร่างกายคุณอยู่เงียบๆ มีสถิติว่า ผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ล้วนมีความเจ็บป่วยเรื้อรังจากเหตุความเครียดถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ความเครียดเรื้อรังทำให้คุณเสี่ยงเกือบทุกอย่างตั้งแต่โรคหวัดตามฤดูกาลธรรมดาๆจนถึงมะเร็ง
แต่งานค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆทำให้พวกเราพบว่า ความเครียดเรื้อรังมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของสมองด้วย โดยละเอียดไปถึงโครงสร้าง DNA เลยทีเดียว
เครียด…เปลี่ยนสมอง
นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัย Berkeley เริ่มศึกษาอิทธิพลความเครียดที่มีผลต่อสมองอย่างจริงจังมาสักพักแล้ว โดยพวกเขาพบว่า คนหนุ่มสาวที่เผชิญหน้ากับความเครียดเป็นเวลานาน มีแนวโน้มจะมีอาการทางจิตอย่าง วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน และมีการเรียนรู้ที่ช้ากว่าคนอื่นๆในวัยเดียวกัน ก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่า เกิดอะไรกับสมองของเรากันแน่? หรือสมองของเราตกเป็นเหยื่อของความเครียดง่ายขนาดนั้นเลยหรือ?
การใช้ชีวิตที่ทำให้สมองเกิดความเครียดเรื้อรัง (Chronic stress) จากการกดทับด้วยคุณภาพชีวิต ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของพวกเรามีอิทธิพลต่อสมอง และเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่ความเครียดเรื้อรังได้
ตัวอย่างสุดคลาสสิคที่จุดประกายการทดลองระยะหลังๆ คืองานวิจัยจากรั้วมหาวิทยาลัย University California ที่ Berkeley ที่ทำการทดลองในยุค 1960 โดยศึกษาในหนูที่เติบโตมาจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งเติบโตมาโดยไม่มีกิจกรรมอะไรให้พวกมันทำเลยนอกจากเผชิญกับความเครียด ขณะอีกกลุ่มได้ออกแรงปั่นจักร ได้พบสมาชิกหนูตัวอื่นๆ และได้รับน้ำและอาหารอย่างเหมาะสม ผลปรากฏว่าหนูกลุ่มแรกที่อยู่ในสภาวะเครียดจะมีพัฒนาการที่ช้า และตอบสนองอย่างขาดไหวพริบ
เช่นเดียวกันในมิติมนุษย์ที่มีฮอร์โมนเครียด(คอร์ติซอล)ก็ร้ายกาจไม่เบา หากร่างกายหลั่งมากเกินไป จะไปปิดกั้นสัญญาณเซลล์ประสาทส่วนอื่นๆ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสมองอย่างถาวร เป็นปัจจัยสำคัญทำให้คุณมีภาวะความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย
ความเครียดนอกจากจะทำให้สมองคุณทึ่มแล้ว ยังมีส่วนร่วมให้เกิดโรคความจำเสื่อมที่ใครๆก็หวาดกลัวเร็วกว่ากำหนดอีกต่างหาก
เอาชนะความเครียดให้จงได้
การออกกำลังกายและทำสมาธิ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในการต่อกรกับความเครียดเบื้องต้น มันสามารถลดฮอร์โมนคอร์ติซอล ของร่างกายให้อยู่ในจุดสมดุล หากเราปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ละสายตาจากหน้าจอและออกเดินในที่ที่คุณหลงใหลเป็นพิเศษ
หรือเปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ โดยหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าปัจจัยสร้างความเครียดเรื้อรัง และพยายามมองหา “ความเครียดที่ดี” จากกิจกรรมที่ทำให้คุณท้าทายตัวเอง (แต่สบายใจ) เพราะเมื่อคุณประสบความสำเร็จในการท้าทายตัวเอง ความเครียดที่ดีจะมอบประสบการณ์ชีวิตที่งดงามจากการที่เราเห็นค่าตัวเอง
ยิ่งเริ่มเร็วในช่วงที่อายุยังไม่มาก ก็จะยิ่งดีใหญ่ สมองของเรายังมีโอกาสเติบโตตลอดเวลาหากเรากลับมาใส่ใจมัน
หาตัวช่วยเพื่อสมอง
การทานอาหารที่มีประโยชน์ร่วมด้วยก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จากงานวิจัยสถาบันด้าน Behavioral and Cognitive Neurosciences, Henri Poincaré University ประเทศฝรั่งเศส พบว่าสารที่ช่วยชะลอความเสื่อมในระดับเซลล์จากเอนไซม์เอสโอดี SOD ช่วยให้รู้สึกเหนื่อยล้าลดลง 77.3% รู้สึกเครียดลดลง 21.7% และเสริมสมาธิในการทำงานเพิ่มขึ้น 64.6%
ร่างกายมนุษย์ก็เป็นระบบนิเวศที่ต้องอาศัยความสมดุล เพราะจะต้องรับมือกับความเครียดที่ไม่จำกัดรูปแบบ ดังนั้นควรเตรียมศักยภาพสมองให้พร้อมอยู่เสมอที่จะเจอความท้าทายของชีวิต
อย่าให้ความเครียดปิดผนึกศักยภาพที่แท้จริงของเรา เพราะไม่มีใครให้อาหารสมองได้ดีเท่าตัวคุณเอง….
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร บียอนด์ ไลฟ์ เซนเชียล (Beyonde Life Sential) สนับสนุนให้คุณห่างไกลความเครียด เติมพลังสมองด้วยการดูแลสมดุลเซลล์ร่างกายทุกวัน
ไม่อยากเครียดจนทึ่ม…คลิกเลย
Illustration by Manaporn Srisudthayanon