ร่างกายของสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งเหลือเชื่ออยู่เสมอ ทีมนักวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตแพทย์ประจำกรุงโตเกียว (Tokyo Medical and Dental University) ได้ค้นพบว่า บางทีสิ่งมีชีวิตอาจรับออกซิเจนผ่านทางรูก้นได้
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา วารสาร Med ได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ค้นพบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาจสามารถรับออกซิเจนผ่านทางรูทวาร และเขียนระบุว่าการค้นพบครั้งนี้ อาจนำไปปรับใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบหายใจ หรือสถานการณ์ที่เครื่องช่วยหายใจไม่เพียงพอ
ความสงสัยของทีมนักวิจัยเริ่มจากความตระหนักว่า สัตว์บางประเภทเช่น ปลาดุก, ปลิงทะเล, ปลาโลช หรือแมงมุมหนามก็ล้วนมีกลไกที่สามารถรับออกซิเขนเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหารส่วนท้าย (Hindgut) ได้ในสถานการณ์ที่อันตราย
รวมถึงอีกหนึ่งความสงสัยหลังจากศึกษาระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ “ส่วนปลายของลำไส้ที่ติดกับรูทวารหนักเต็มไปด้วยเส้นเลือดมากมาย แปลว่าถ้าเราให้ยาผ่านรูทวารมันจะซึมซับเข้าไปในเลือดได้อย่างรวดเร็ว” ความเข้าใจนี้ทำให้ Ryo Okab หัวหน้านักวิจัยตั้งคำถามต่อว่า แล้วถ้าเป็นออกซิเจนล่ะ จะสามารถส่งผ่านทางรูทวารได้หรือเปล่า
ทีมนักวิจัยได้ทดลองต่อเอกซิเจนเข้าสู่ร่างกายผ่านรูทวารให้กับหมู, หนูบ้าน และหนูท่อที่อยู่ในภาวะขาดออกซิเจน โดยใช้ 2 วิธีในการทดลอง หนึ่ง ปั๊มแก๊สออกซิเจนเข้าไป สอง ใช้น้ำยาผสมออกซิเจนเข้มข้นฉีดเข้าไปในรูทวารเพื่อให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายต่อไป
ในวิธีแรก ทีมนักวิจัยได้ปั๊มแก๊สออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักให้แก่หนู ผลปรากฏว่าหนูสามารถมีชีวิตรอดต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ทีมวิจัยระบุว่าอาจต้องขูดผนังส่วนปลายของลำไส้ที่ต่อกับทวารหนักให้บางลง ถึงจะเห็นผลที่สุด
ขณะที่ในรูปแบบที่สอง ทีมนักวิจัยได้ผสมออกซิเจนเข้มข้นเข้ากับสาร perfluorochemical (สารที่ใช้ในการผลิตพลาสติกชนิดฟูออโรโพลิเมอร์ และอุปกรณ์ที่กันความร้อน) และฉีดเข้าไปในร่างกายของสัตว์ทดลอง ซึ่งผลน่าตกใจทีเดียว พวกเขาพบว่า หนูบ้านลุกขึ้นมาเดินไปมาทันที ส่วนทางหมูก็พบว่าผิวหนังที่แห้งซีดก็กลับมาเป็นสีชมพูเช่นกัน “พวกมันฟื้นฟูจากภาวะที่ร่างกายพร่องออกซิเจนมากและรุนแรงที่สุดอย่างสมบูรณ์ Takabe กล่าว
ทีมวิจัยสรุปว่าทั้งสองวิธีช่วยให้ระดับออกซิเจนในร่างกายสัตว์ทดลองเพิ่มขึ้นจริง และพวกมันสามารถกลับมามีชีวิตปกติได้อีกด้วย ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยใช้วิธีวัดค่าออกซิเจนที่เรียกว่า immunochemical staining
ทีมนักวิจัยยังยืนยันอีกว่า กระบวนการดูดซึมของเหลวที่ถูกฉีดมาพร้อมออกซิเจนไม่เป็นอันตราย และไม่รบกวนการทำงานของแบคทีเรียในร่างกาย
“ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบหายใจสามารถรับออกซิเจนด้วยวิธีนี้ได้ เพื่อผลกระทบจากเครื่องช่วยหายใจในภาวะที่ผู้ป่วยวิกฤตอยู่” Takanori Takebe หนึ่งในทีมวิจัยเสริม
Caleb Kelly อาจารย์จากมหาวิทยาลัยการแพทย์เยล (Yale University) กล่าวถึงข้อค้นพบนี้ว่า มันเป็นความคิดที่น่าสนใจมาก และเหมาะที่จะนำมาศึกษาอย่างจริงจัง
“ถึงแม้ ยังต้องมีการวิจัยในระดับ Clinical Trial กันต่อและข้อมูลของ Okabe (หัวหน้านักวิจัย) ยังต้องตรวจสอบ แต่ EVA คือวิธีการรักษาแนวใหม่ที่วิทยาศาสตร์และการแพทย์ควรให้ความสนใจ” เขาเสริมต่อว่าวิธีการนี้จะเป็นประโยชน์มาก ในช่วงเวลาที่เครื่องช่วยหายใจขาดแคลนเช่นวิกฤต COVID-19 นี้
ทั้งนี้ วิธีการนี้ถูกเรียกว่ากระบวนการถ่ายเทอากาศในลำไส้ผ่านรูทวาร (Enteral Ventilation via anus หรือ EVA)
อ้างอิง:
https://www.japantimes.co.jp/news/2021/05/15/national/science-health/mammals-breath-anus-study/
https://www.nytimes.com/2021/05/14/science/rectum-breathing-oxygen.html